กรณ์ จาติกวณิช
ปราชญ์ ปัญจคุณาธร
#seebkk13 เกาะติด "ปิดกรุงเทพฯ" #shutdownbkk #กปปส 13 ม.ค.
ร่วมใช้สัญลักษณ์ hashtag #seebkk13กับภาพการชุมนุม "ปิดกรุงเทพฯ"
#seebkk13
พร้อมคำบรรยายภาพ ในจุดที่ท่านอยู่ ในมุมที่ท่านเห็น เพื่อร่วมสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของมวลมหาประชาชน กปปส.
ไม่ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ในฐานะเจ้าของบ้านคนหนึ่ง เจ้าของประเทศคนหนึ่ง และเพื่อมีส่วนร่วมในการทำ "ประมวลภาพปิดกรุงเทพฯ"ลงเว็บประชาไท
ติดตามความเคลื่อนไหว #seebkk13ได้ที่ Facebook, Twitterและ Instagram
ShortURL: http://goo.gl/zFhTWm
อภิสิทธิ์เปิดตัวหนังสือ "เพราะหัวใจมอบให้แผ่นดิน"ผลงานจักษ์ พันธ์ชูเพชร
จักษ์ พันธ์ชูเพชร อาจารย์ดัง ม.นเรศวร เปิดตัวหนังสือบันทึกการต่อสู้ กปปส. "เพราะหัวใจมอบให้แผ่นดิน"โดยมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ร่วมเปิดตัวหนังสือ
(ที่มาของภาพ: เพจ Abhisit Vejjajiva)
25 ม.ค. 2558 - เมื่อวานนี้ (24 ม.ค.) ที่ห้องพุทธคยา ตึกอัมรินทร์พลาซ่า แยกราชประสงค์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมงานเปิดตัวหนังสือ "เพราะหัวใจมอบให้แผ่นดิน"ผลงานของจักษ์ พันธ์ชูเพชร รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ปราศรัยคนสำคัญในการชุมนุมของ กปปส. เมื่อปลายปี 2556 - พฤษภาคม 2557
ทั้งนี้ สรยุทธ สุทัศนะจินดา เคยตั้งฉายาให้ว่า "จักษ์ 5 ปริญญา"เนื่องจากจบปริญญาด้าน นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับบทนำในปกหลังของหนังสือ "จักษ์ พันธ์ชูเพชร"เขียนไว้ว่า "หนังสือเล่มนี้ อาจเป็นเพียงบันทึกเรื่องราวเล็กๆ ในสายตาบางคน อาจเป็นเพียงเรื่องเล่าที่ไร้ความหมาย ในสายตาบางคน หรืออาจเป็นเพียงตัวหนังสือที่ถูกจัดเรียง ในสายตาบางคน หากคนเหล่านั้นไม่ได้รับรู้ถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่ในการต่อสู้""แต่หนังสือเล่มนี้ จะเป็นบันทึกที่ทรงคุณค่า ในสายตาบางคน จะเป็นเรื่องราวที่ควรต้องจดจำ ในสายตาบางคน และจะเป็นตัวหนังสือที่แสดงให้เห็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ในสายตาบางคน หากคนเหล่านั้นคือบุคคลที่ร่วมต่อสู้ และสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกัน เพราะหัวใจ ... (เรา)มอบให้แผ่นดิน"
ในงานดังกล่าวนอกจากอภิสิทธิ์แล้ว ยังมีผู้สนับสนุนของจักษ์ จำนวนมาก รวมทั้งแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เช่น จุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส. พื้นที่ จ.พิษณุโลก ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และพิธีกรรายการสายล่อฟ้า ร่วมแสดงความยินดีในงานเปิดตัวหนังสือผลงานของจักษ์ ด้วย
ทั้งนี้ จักษ์ เจ้าของวาทะ "ล่อเพื่อชาติ"ในการปราศรัยบนเวที กปปส. เมื่อเดือนธันวาคมปี 2556 เคยอภิปรายกับ สมบัติ บุญงามอนงค์ เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2557 ในรายการ "สรยุทธเจาะข่าวเด่น"ดำเนินรายการโดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 กรณีชุมนุมใหญ่ "ชัตดาวน์กรุงเทพฯ"ของ กปปส. ที่เริ่มขึ้นในวันที่ 13 ม.ค. 2557 โดยในครั้งนั้นเขายืนยันแนวทางปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง โดยกล่าวด้วยว่า "ยอมให้เราปฏิรูปสิครับ แล้วจะทำให้ดู"
นอกจากนี้ยังยืนยันว่า กปปส. ต้องจัดการชุมนุมปิดกรุงเทพฯ โดยไม่มีทางเลือกอื่น เพื่อให้รัฐบาลยอมลาออก และชี้แจงว่าไม่ได้เป็นการไล่คนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพียงแต่แนะนำให้ไปพักผ่อน "วันที่ชัตดาวน์คนที่ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการนี้แล้วอยู่ลำบาก ก็ไปพักผ่อนข้างนอก ลักษณะแบบนี้ อยากให้ไปฟังคำพูดนี้ชัดๆ ไม่ใช่เปลี่ยนคำพูดว่าจาก 'บอกให้ออกไป'กับคำว่า 'ไล่'คนละประเด็น"จักษ์กล่าวชี้แจงในรายการ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ประท้วงหอศิลป์เกาหลีใต้จัดแสดงศิลปะ กปปส. เพื่อรำลึก 36 ปีสลายชุมนุมกวางจู
บุคคลหลายวงการในไทยเขียนจดหมายเปิดผนึกเพื่อทักท้วงภัณฑารักษ์เกาหลีใต้ กรณีนำผลงานของศิลปินยุค กปปส. ปิดกรุงเทพฯ ไปจัดแสดงเพื่อรำลึก 36 ปีเหตุสลายการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยกวางจูปี 1980 ด้านภัณฑารักษ์เกาหลีใต้ยอมรับนำผลงานมาแสดงเพราะนึกว่าเหมือนศิลปะเกาหลียุค 80 โดยไม่ได้คำนึงนัยยะทางการเมือง เผยถูกท้วงติงหนักจากหลายฝ่าย เตรียมนำไปหารือว่าจะถอนผลงานแสดงหรือไม่
โปสเตอร์งาน 'The Truth_ to Turn It Over' (ที่มา: Artmuse.gwangju.go.kr)
สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด 'Thai Uprising'ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)
16 พ.ค. 2559 กรณีพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู เชิญสุธี คุณาวิชยานนท์ ร่วมแสดงผลงานศิลปะในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over'(อ่านรายละเอียด)ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการมีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจะจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยนอกจากผลงานของสุธี ยังมีผลงานของศิลปินอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ปักแทคู จากเกาหลีใต้ มันกู ปุตรา จากอินโดนีเซีย เลองอกทันและเลอดุกไฮ จากเวียดนาม และเรอนาโท หาบูลาน จากฟิลิปปินส์นั้น
อย่างไรก็ตาม มีกระแสวิจารณ์ในประเทศไทย เนื่องจากมองว่าผลงานแสดงของสุธีบางส่วน เป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านประชาธิปไตยและปูทางไปสู่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
สำหรับผลงานแสดงของสุธี ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ส่วนแรก คือ "กระดานดำกวางจู"โดยนำมาจากผลงานชุด "ห้องเรียนประวัติศาสตร์ภาค 2"ที่สุธีเคยจัดแสดงผลงานดังกล่าวมาก่อน เมื่อ พ.ศ. 2556 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นภาพแกะสลักบนโต๊ะนักเรียนที่ทำจากไม้ 23 ตัว แสดงเหตุการณ์ 23 แห่ง โดยในการแสดงที่กวางจู สุธีได้เลือกโต๊ะไปทำการแสดง 6 ตัว นอกจากนี้เขายังร่วมกับศิลปินเกาหลีใต้ วาดภาพบนกระดานดำร่วมกันโดยด้านหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และอีกด้านการเหตุการณ์กวางจูเดือนพฤษภาคม 2523
"ผลงาน "กระดานดำกวางจู"ผมต้อง "เลือกจำ"คัดตัดตอนมาเฉพาะประวัติศาสตร์ 1 หน้าในความทรงจำทางการเมืองไทย 14 ตุลา 16 เบลอปะปนไปกับ 18 พฤษภาคม 1980 โศกนาฏกรรมทางการเมืองของเกาหลีใต้ที่เมืองกวางจู ที่มีทั้งความคล้ายและความต่างสองเรื่องสองเหตุการณ์ถูกเขียนแล้วลบแล้วเขียนอีก จนมันเบลอ เข้าหากันในกระดานแห่งความทรงจำเดียวกัน อีกชิ้นโต๊ะนักเรียนในห้องเรียนประวัติศาสตร์ ก็จำเป็นต้องถูก "เลือกจำ"เช่นกัน จากโต๊ะ 23 ตัว เกือบ 20 เหตุการณ์ คัดเหลือแค่ 6 ตัว ประมาณ 6 เหตุการณ์"สุธีระบุตอนหนึ่งในสเตตัสเฟซบุ๊คที่เขาพูดถึงผลงานแสดงศิลปะ
สำหรับผลงานศิลปะส่วนที่ถูกทักท้วง คือ "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"(อ่านรายละเอียด)ซึ่งเป็นผลงานศิลปะของสุธีระหว่างการชุมนุมต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการชุมนุม กปปส. ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง ปลายเดือนมกราคม 2557 โดยมีข้อความที่ปรากฏในโปสเตอร์เช่น "ปฏิรูปก่อน""ไทยอย่าเฉย""ยึดคืนประเทศไทย""อย่ากลับด้านประเทศไทย"โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีถูกนำมาประมูลเพื่อระดมทุนสำหรับการต่อสู้ในช่วงนั้นด้วย
ทั้งนี้ หลังวันเปิดแสดงผลงานศิลปะเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา บุคคลในวงการต่างๆ ในประเทศไทย ได้ส่งจดหมายทักท้วงไปยัง ลิม จงยอง ผู้ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ 'The Truth_to Turn It Over'
โดยเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ธนาวิ โชติประดิษฐ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนจดหมายเปิดผนึกไปยัง ลิม จงยอง เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขา
"เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรศการ 2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น"จดหมายของธนาวิตอนหนึ่งระบุ
ขณะเดียวกันในวันนี้ (16 พ.ค.) มีการเผยแพร่ จดหมายเปิดผนึกจาก "นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย" (กวป.) ถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู กรณีนำผลงานของ รศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ ไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’"โดยมีการลงชื่อท้ายจดหมายโดยบุคคล 118 ราย ประกอบด้วยศิลปิน ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียน สื่อมวลชน นักวิชาการ ฯลฯ ในไทย สอบถามไปยังพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู
"ระหว่างการชุมนุมประท้วงปิดเมืองกรุงเทพฯ ของ กปปส. สุธีและเพื่อนศิลปินได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนให้ขบวนการเคลื่อนไหว กปปส. แทนที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยและการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน ผลงานของเขาที่นำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูเป็นผลงานที่ทำขึ้นระหว่างร่วมชุมนุมกับ กปปส. อันนำพาความถดถอยของประชาธิปไตยไทย อาทิ โปสเตอร์ที่ใช้เทคนิคฉลุลาย เสื้อยืดสำหรับผู้สนับสนุน กปปส. และ อื่น ๆ ศิลปิน กปปส. ยึดถนนเพื่อปิดกั้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งก่อชนวนเปิดโอกาสให้ทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน และเปลี่ยนจากประเทศที่มีอนาคตที่สดใสทางประชาธิปไตย กลับกลายเป็นการควบคุมโดยสมบูรณ์จากชนชั้นสูงและปกครองโดยทหารตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557"
"แม้ว่ารัฐบาลเผด็จการของไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทย (หรือ UPR) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2559 อย่างไรก็ตามในวันเดียวกันนี้ ศิลปิน กปปส. ก็ได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนสำหรับการสร้างวิทยาลัยของพวก กปปส.ด้วยเช่นกัน นิทรรศการของสุธีไม่เพียงแต่เป็นการดูหมิ่นขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของไทยและ ประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตย แต่หมายรวมถึงจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ของชาวกวางจูเมื่อ 18 พฤษภาคม"
"พวกเราใคร่ขอถาม Jong Young Lim ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และคณะกรรมการของถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ พวกเราเชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู ด้วยความเคารพต่อหลักการดังกล่าวพวกเราใคร่ขอคำอธิบายหลักและเหตุผลในการคัดสรรศิลปินและผลงาน เพื่อความกระจ่างชัดต่อชาวไทยและชาวกวางจู"ตอนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุ
ภัณฑารักษ์เกาหลีใต้ยอมรับนำผลงานมาแสดงโดยไม่ได้คำนึงนัยยะทางการเมือง เตรียมนำไปหารือว่าจะถอนผลงานแสดงหรือไม่
ล่าสุดในเว็บ penseur21.com (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) Lee Yu Kyung ผู้สื่อข่าวชาวเกาหลีใต้ ได้โทรศัพท์สัมภาษณ์ ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าว โดยเขาย้ำว่าเขารู้สึกชื่นชมผลงานแนวสตรีทอาร์ทของสุธี ซึ่งมีเนื้อหาใกล้กับศิลปะแนวประชาชนของเกาหลีใต้ในยุคทศวรรษที่ 1980 โดยเขาให้พิจารณาเรื่องนี้โดยไม่ได้คำนึงในเรื่องนัยยะทางการเมือง
"ผมไม่ได้คาดหมายว่าจะมีปฏิกิริยาตอบกลับมาจากประเทศไทยขนาดนี้ เราได้รับคำท้วงติงมาจากบุคคลหลากหลาย ซึ่งส่วนหนึ่งถูกส่งมาจากมูลนิธิ 518 (มูลนิธิในเกาหลีใต้ซึ่งตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ต่อสู้ที่กวางจู) พวกเราจะมีการหารือกันถึงเรื่องนี้ พวกเราอาจพิจารณาที่จะถอนงาน 1 ใน 4 เรื่องของสุธี ซึ่งเรื่องหนึ่งเกี่ยวข้องกับการประท้วงของ กปปส. แต่เราต้องได้รับความยินยอมจากศิลปิน เราจะไม่ทำโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นความผิดพลาดของพวกเราร่วมกัน" ลิม จงยอง กล่าวเพิ่มเติม
36 ปีเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยกวางจู ก่อนนำตัวผู้บงการขึ้นศาลในปี 2539
สำหรับขบวนการประชาธิปไตยกวางจู หรือเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมต่อต้าน นายพลชุน ดูฮวาน ที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลชอย คูฮาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 โดยท้ายที่สุดทหารเกาหลีใต้สามารถยึดเมืองกวางจูคืนจากผู้ประท้วงได้ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 มีผู้เสียชีวิต 165 ราย สูญหาย 76 ราย บาดเจ็บสามพันห้าร้อยราย ขณะที่ทหารและตำรวจเสียชีวิต 13 ราย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ศาลอาญาประจำโซล มีคำตัดสินประหารชีวิตนายพลชุน ดูฮวาน จำเลยที่หนึ่ง และจำคุกนายพลโน แทอู จำเลยที่สอง 22 ปี 6 เดือน และจำคุกนายพลอื่นๆ อีก 13 คน
000
จดหมายเปิดผนึกของธนาวิ โชติประดิษฐ เมื่อ 12 พ.ค. 2559 (ฉบับแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
เรียน คุณลิมจงยอง
ข้าพเจ้าเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปินชาวไทยที่อยู่ในกรุงเทพฯ และผู้สังเกตการณ์ศิลปะร่วมสมัยของไทย ข้าพเจ้าเขียนจดหมายมายังท่านต่อเรื่องนิทรรศการ 'The Truth_To Turn It Over'โดยในการคัดเลือกผลงานของคุณ ที่ได้เลือกงาน 'Thai Uprising'ของสุธี คุณาวิชยานนท์ สำหรับจัดแสดงในนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการรำลึกถึง 36 ปี ของขบวนการประชาธิปไตย 18 พฤษภาคมนั้น วันนี้ได้ถูกวิจารณ์อย่างหนักในหมู่ผู้ใช้เฟซบุ๊คชาวไทย โดยจดหมายฉบับนี้ไม่ใช่จดหมายสำหรับศิลปิน แต่เป็นจดหมายถึงภัณฑารักษ์ผู้รวบรวมผลงานแสดง
อาร์ทเลน (Art Lane) เป็นส่วนหนึ่งของการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ไม่เพียงแค่เป็นการประท้วงกฎหมายนิรโทษกรรมสมัยยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในปี 2556 เท่านั้น แต่ยังเป็นการปูทางไปสู่การรัฐบาล ผลงานชุด "Thai uprising"ในปี 2556-2557 ที่คุณเลือก แสดงออกอย่างชัดเจนว่าคือการต่อต้านรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เคียงข้างไปกับศิลปินอื่นๆ ของมหาวิทยาศิลปากร และศิลปินที่แสดงผลงานทางการเมือง สุธีมีบทบาทอยู่ในขบวนการต่อต้านประชาธิปไตย พวกเขาระดมทุนเพื่อ กปปส. กลุ่มกดดันทางการเมืองที่นำโดยอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ สุเทพ เทือกสุบรรณ และเมื่อกองทัพยึดอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี 2557 ศิลปินเหล่านี้ก็ต้อนรับการรัฐประหารนี้
พวกเขาเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารนับตั้งแต่นั้น แน่นอนศิลปินทั้งหลาย ทั้งเขาและเธอมีสิทธิเลือกข้าง และแม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อจุดยืนทางการเมืองของสุธี ข้าพเจ้าก็เคารพเขาด้วยความจริงใจที่เขาพูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมาชัดเจน (ข้าพเจ้าตระหนักเป็นอย่างดีว่าสถานการณ์ของกลุ่มอื่นมีความต่างกัน ประเทศไทยไม่ได้มีพื้นที่เสรีและยุติธรรมพอสำหรับการพูดและการแสดงออก) เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ "2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace"จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่
ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น
ด้วยความนับถือ
ธนาวิ โชติประดิษฐ
จดหมายเปิดผนึกจาก “นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (กวป.) ถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู - กรณีนำผลงานของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ ไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’
สืบเนื่องจากที่ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ ศิลปินไทยได้ร่วมแสดงนิทรรศการชุด ‘The Truth_ to Turn It Over’ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู พวกเราขอแสดงความกังวลเกี่ยวเนื่องกับแนวทางศิลปะของเขา กับจุดยืนทางการเมือง และจิตวิญญาณการต่อสู้ของชาวกวางจู เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสุธีเข้าร่วมกับ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” (กปปส.) ซึ่งนำมาสู่วิกฤตทางการเมืองและรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 กปปส. เป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่มุ่งหมายโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีการปิดถนนหลายสายในกรุงเทพฯ ปิดสำนักงานของรัฐบาล รวมถึงปิดกั้นไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2557 กปปส. กล่าวหาว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวไทยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดที่ยากจนและไร้การศึกษา ดังนั้นคนเหล่านี้จึงถูกซื้อจากนักการเมืองได้ และพวกเขายังเชื่อว่าการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 เป็นเพียงการรักษาอำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เท่านั้น ในขณะที่ กปปส. ปฏิเสธการเจรจากับตัวแทนรัฐบาล แต่กลับเรียกร้องให้มีการตั้งรัฐบาลพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ด้วยวิธีการต่าง ๆ การกระทำของพวกเขานำมาซึ่งการเข้าแทรกแซงของทหาร ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่นั้นมา
กปปส. มองข้ามข้อเท็จจริงว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำ กปปส. เป็นอดีตรองนายกฯในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้สั่งการให้กองทัพสลายการชุมนุมของ “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) ซึ่งชุมนุมประท้วง ณ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2553 จนมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน ศาลไทยได้มีคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วว่าเจ้าหน้าที่ทหารไทยใช้อาวุธยิงประชาชน ขณะที่ผู้ชุมนุม นปช. ถูกคุมขังและพิพากษาว่าละเมิดกฎหมาย สุเทพและสมาชิกคณะรัฐมนตรียังคงลอยนวล เหลือไว้เพียงข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ได้มีเพียงผู้ชุมนุม นปช. เท่านั้นที่ถูกฆ่าและถูกขัง แต่ยังรวมถึงประชาชนธรรมดาที่ไม่มีแรงจูงใจทางการเมืองใด ๆ นักวิชาการบางคนเปรียบเทียบเหตุการณ์ 10 เมษาฯ – 19 พฤษภาฯ ว่าคล้ายกับการที่ชุนดูฮวาน (อดีตผู้นำเผด็จการเกาหลีใต้-ผู้แปล) ปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของชาวกวางจู ที่เลวร้ายที่สุดคือการที่ผู้สนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิจำนวนมากเชื่อว่าสมควรแล้วที่ผู้ชุมนุม นปช. จะถูกปราบปรามด้วยความรุนแรง
หลังการปราบปราม รัฐบาลอภิสิทธิยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (ด้วยการสนับสนุนจากสมาชิก นปช.) ได้รับเลือกและกลายเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่นายสุเทพ กลายเป็นฝ่ายค้าน รัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามที่จะหาหนทางสร้างความปรองดองโดยร่าง พรบ.นิรโทษกรรม รัฐบาลของเธอล้มเหลวในการผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่เต็มไปด้วยข้อถกเถียงและก่อให้เกิดความโกรธแค้นจากหลายฝ่าย รวมถึง กปปส. แล้วประชาธิปไตยของประเทศไทยก็หยุดชะงักนับแต่นั้นมา
ระหว่างการชุมนุมประท้วงปิดเมืองกรุงเทพฯ ของ กปปส. สุธีและเพื่อนศิลปินได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนให้ขบวนการเคลื่อนไหว กปปส. แทนที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยและการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน ผลงานของเขาที่นำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูเป็นผลงานที่ทำขึ้นระหว่างร่วมชุมนุมกับ กปปส. อันนำพาความถดถอยของประชาธิปไตยไทย อาทิ โปสเตอร์ที่ใช้เทคนิคฉลุลาย เสื้อยืดสำหรับผู้สนับสนุน กปปส. และ อื่น ๆ ศิลปิน กปปส. ยึดถนนเพื่อปิดกั้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งก่อชนวนเปิดโอกาสให้ทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน และเปลี่ยนจากประเทศที่มีอนาคตที่สดใสทางประชาธิปไตย กลับกลายเป็นการควบคุมโดยสมบูรณ์จากชนชั้นสูงและปกครองโดยทหารตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557
แม้ว่ารัฐบาลเผด็จการของไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทย (หรือ UPR) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2559 อย่างไรก็ตามในวันเดียวกันนี้ ศิลปิน กปปส. ก็ได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนสำหรับการสร้างวิทยาลัยของพวก กปปส.ด้วยเช่นกัน นิทรรศการของสุธีไม่เพียงแต่เป็นการดูหมิ่นขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของไทยและ ประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตย แต่หมายรวมถึงจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ของชาวกวางจูเมื่อ 18 พฤษภาคม
พวกเราใคร่ขอถาม Jong Young Lim ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และคณะกรรมการของถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ พวกเราเชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู ด้วยความเคารพต่อหลักการดังกล่าวพวกเราใคร่ขอคำอธิบายหลักและเหตุผลในการคัดสรรศิลปินและผลงาน เพื่อความกระจ่างชัดต่อชาวไทยและชาวกวางจู
ด้วยความสมานฉันท์
นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.)
ดังรายชื่อแนบท้าย
2. Akara Pacchakkhaphati Film Maker
ค้านเกาหลีปลดงานศิลป์-สุธียันไม่หนุนรัฐประหาร-ที่เงียบไปเพราะบ้านเมืองขัดแย้ง
กรณี 118 รายชื่อยื่น จม. หอศิลป์เกาหลีใต้นำผลงานศิลปินยุค กปปส. ปิดกรุงเทพฯ จัดแสดงรำลึก 36 ปีเหตุสลายการชุมนุมที่กวางจู ล่าสุดเจ้าของผลงาน สุธี คุณาวิชยานนท์ ชี้แจง 'มติชน'ทราบเรื่องจดหมายแล้ว แต่ยังไม่ได้อ่านเพราะติดสอนทั้งวัน และชี้แจงหอศิลป์เกาหลีใต้แล้วว่าไม่ได้สนับสนุนรัฐประหาร แต่ต้านนิรโทษกรรม-คอรัปชั่น
รับระดมทุนให้ กปปส. จริง แต่ไม่ใช่ กปปส. แค่มีแนวคิดบางอย่างร่วมกัน ที่ผ่านมาเงียบไป เพราะไม่สนับสนุนรัฐประหาร ยอมรับว่าไม่เป็นไปอย่างที่ตั้งใจ ขอยืนยันว่าอยากให้ปฏิรูป บ้านเมืองขัดแย้งมาเยอะ เลยไม่อยากไปเพิ่มความขัดแย้ง อยากให้ประเทศสงบ มีทางออก แต่ถ้าคณะรัฐประหารทรยศประชาชนก็อีกเรื่องหนึ่ง ควรต้องเคลื่อนไหวต่อไป
สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด 'Thai Uprising'ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)
งานแสดงของสุธีช่วงชัตดาวน์กรุงเทพฯ 13 ม.ค. 2557 (ที่มา: Rama9Art)
โดยในคำชี้แจงวันนี้ (17 พ.ค.) ของสุธี คุณาวิชยานนท์ รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวกับ มติชนออนไลน์ว่า ทราบข่าวเรื่องจดหมายเปิดผนึกแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสอ่าน เพราะติดงานสอนตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม เขาได้รับอีเมลล์จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูในช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งได้ชี้แจงกลับไปเรียบร้อยแล้ว โดยขอยืนยันว่า ไม่เคยสนับสนุนรัฐประหาร การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมา เป็นการต่อต้านพรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย และการคอรัปชั่นของนักการเมือง ซึ่งผลงานที่นำไปจัดแสดง เป็นบันทึกเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น โดยเป็นงานเก่าตั้งแต่ปลายปี 2556 ถึงต้นปี 2557 ที่นำมาทำใหม่ ซึ่งหากทางพิพิธภัณฑ์จะปลดผลงานส่วนหนึ่ง เขาจะขอคัดค้าน เพราะไม่มีเหตุผลจะถูกปลด
“ผมและเพื่อนๆกลุ่ม Art Lane ซึ่งมีทั้งศิลปิน นักร้อง นักแสดง เรียกร้องการปฏิรูป ไม่ใช่รัฐประหาร ทำไปด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มีใครหนุนหลัง ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือพรรคการเมือง เราทำของเราเอง กรณีที่มีการทำเสื้อยืดและของที่ระลึกขาย ก็มอบรายได้ให้กลุ่มไปแล้วเขาไปจัดการกันเอง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมีการใช้สนับสนุนกิจกรรมการเคลื่อนไหว และมอบให้กปปส. จริง แต่ผมไม่ใช่สมาชิกกลุ่มกปปส.แค่มีแนวคิดบางอย่างร่วมกัน เช่น ต้านรัฐบาลที่ทุจริต ค้านนิรโทษกรรมสุดซอย
งานในนิทรรศการก็เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ในบริบทนั้นๆว่าเป็นอย่างไร เป็นงานที่ทำตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ไม่ถามหรือว่าหลังรัฐประหารทำไมผมเงียบ ก็เพราะไม่สนับสนุน ยอมรับว่าผิดหวัง ไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้งใจ ยังยืนยันว่าอยากให้ปฏิรูป แต่พอเกิดรัฐประหาร ก็รอดูไปก่อนว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป บ้านเมืองขัดแย้งมาเยอะ เลยไม่อยากไปเพิ่มความขัดแย้ง อยากให้ประเทศสงบ มีทางออก แต่ถ้าคณะรัฐประหารทรยศประชาชนก็อีกเรื่องหนึ่ง ควรต้องเคลื่อนไหวต่อไป” สุธีกล่าว และว่าหลังทราบข่าวการส่งจดหมายเปิดผนึก ยอมรับว่าไม่สบายใจ เพราะตนไม่ใช่นักการเมือง หรือนักเคลื่อนไหวมืออาชีพ แต่มีศิลปินและเพื่อนอาจารย์คอยให้กำลังใจ
ผลงานแสดงที่กวางจู ของสุธี คุณาวิชยานนท์ และการทักท้วง
สำหรับผลงานแสดงของสุธี ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ส่วนแรก คือ "กระดานดำกวางจู"โดยนำมาจากผลงานชุด "ห้องเรียนประวัติศาสตร์ภาค 2"ที่สุธีเคยจัดแสดงผลงานดังกล่าวมาก่อน เมื่อ พ.ศ. 2556 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นภาพแกะสลักบนโต๊ะนักเรียนที่ทำจากไม้ 23 ตัว แสดงเหตุการณ์ 23 แห่ง โดยในการแสดงที่กวางจู สุธีได้เลือกโต๊ะไปทำการแสดง 6 ตัว นอกจากนี้เขายังร่วมกับศิลปินเกาหลีใต้ วาดภาพบนกระดานดำร่วมกันโดยด้านหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และอีกด้านการเหตุการณ์กวางจูเดือนพฤษภาคม 2523
"ผลงาน "กระดานดำกวางจู"ผมต้อง "เลือกจำ"คัดตัดตอนมาเฉพาะประวัติศาสตร์ 1 หน้าในความทรงจำทางการเมืองไทย 14 ตุลา 16 เบลอปะปนไปกับ 18 พฤษภาคม 1980 โศกนาฏกรรมทางการเมืองของเกาหลีใต้ที่เมืองกวางจู ที่มีทั้งความคล้ายและความต่างสองเรื่องสองเหตุการณ์ถูกเขียนแล้วลบแล้วเขียนอีก จนมันเบลอ เข้าหากันในกระดานแห่งความทรงจำเดียวกัน อีกชิ้นโต๊ะนักเรียนในห้องเรียนประวัติศาสตร์ ก็จำเป็นต้องถูก "เลือกจำ"เช่นกัน จากโต๊ะ 23 ตัว เกือบ 20 เหตุการณ์ คัดเหลือแค่ 6 ตัว ประมาณ 6 เหตุการณ์"สุธีระบุตอนหนึ่งในสเตตัสเฟซบุ๊คที่เขาพูดถึงผลงานแสดงศิลปะ
สำหรับผลงานศิลปะส่วนที่ถูกทักท้วง คือ "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน" (อ่านรายละเอียด) ซึ่งเป็นผลงานศิลปะของสุธีระหว่างการชุมนุมต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการชุมนุม กปปส. ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง ปลายเดือนมกราคม 2557 โดยมีข้อความที่ปรากฏในโปสเตอร์เช่น "ปฏิรูปก่อน""ไทยอย่าเฉย""ยึดคืนประเทศไทย""อย่ากลับด้านประเทศไทย"โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีถูกนำมาประมูลเพื่อระดมทุนสำหรับการต่อสู้ในช่วงนั้นด้วย
ทั้งนี้ หลังวันเปิดแสดงผลงานศิลปะเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา บุคคลในวงการต่างๆ ในประเทศไทย ได้ส่งจดหมายทักท้วงไปยัง ลิม จงยอง ผู้ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ 'The Truth_to Turn It Over'อาทิ ธนาวิ โชติประดิษฐ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากรเขียนจดหมายเปิดผนึกไปยัง ลิม จงยอง เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขา
"เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรศการ 2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น" จดหมายของธนาวิตอนหนึ่งระบุ
ขณะเดียวกันในวันนี้ (16 พ.ค.) มีการเผยแพร่ จดหมายเปิดผนึกจาก "นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย" (กวป.) ถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู กรณีนำผลงานของ รศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ ไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’"โดยมีการลงชื่อท้ายจดหมายโดยบุคคล 118 ราย ประกอบด้วยศิลปิน ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียน สื่อมวลชน นักวิชาการ ฯลฯ ในไทย สอบถามไปยังพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู
"พวกเราใคร่ขอถาม Jong Young Lim ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และคณะกรรมการของถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ พวกเราเชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู ด้วยความเคารพต่อหลักการดังกล่าวพวกเราใคร่ขอคำอธิบายหลักและเหตุผลในการคัดสรรศิลปินและผลงาน เพื่อความกระจ่างชัดต่อชาวไทยและชาวกวางจู"ตอนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
อนึ่ง เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ในเว็บ penseur21.com (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) Lee Yu Kyung ผู้สื่อข่าวชาวเกาหลีใต้ ได้โทรศัพท์สัมภาษณ์ ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าว โดยเขาย้ำว่าเขารู้สึกชื่นชมผลงานแนวสตรีทอาร์ทของสุธี ซึ่งมีเนื้อหาใกล้กับศิลปะแนวประชาชนของเกาหลีใต้ในยุคทศวรรษที่ 1980 โดยเขาพิจารณาเรื่องนี้โดยไม่ได้คำนึงในเรื่องนัยยะทางการเมือง
"ผมไม่ได้คาดหมายว่าจะมีปฏิกิริยาตอบกลับมาจากประเทศไทยขนาดนี้ เราได้รับคำท้วงติงมาจากบุคคลหลากหลาย ซึ่งส่วนหนึ่งถูกส่งมาจากมูลนิธิ 518 (มูลนิธิในเกาหลีใต้ซึ่งตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ต่อสู้ที่กวางจู) พวกเราจะมีการหารือกันถึงเรื่องนี้ พวกเราอาจพิจารณาที่จะถอนงาน 1 ใน 4 เรื่องของสุธี ซึ่งเรื่องหนึ่งเกี่ยวข้องกับการประท้วงของ กปปส. แต่เราต้องได้รับความยินยอมจากศิลปิน เราจะไม่ทำโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นความผิดพลาดของพวกเราร่วมกัน" ลิม จงยอง กล่าวเพิ่มเติม
36 ปีเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยกวางจู ก่อนนำตัวผู้บงการขึ้นศาลในปี 2539
สำหรับขบวนการประชาธิปไตยกวางจู หรือเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมต่อต้าน นายพลชุน ดูฮวาน ที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลชอย คูฮาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 โดยท้ายที่สุดทหารเกาหลีใต้สามารถยึดเมืองกวางจูคืนจากผู้ประท้วงได้ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 มีผู้เสียชีวิต 165 ราย สูญหาย 76 ราย บาดเจ็บสามพันห้าร้อยราย ขณะที่ทหารและตำรวจเสียชีวิต 13 ราย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ศาลอาญาประจำโซล มีคำตัดสินประหารชีวิตนายพลชุน ดูฮวาน จำเลยที่หนึ่ง และจำคุกนายพลโน แทอู จำเลยที่สอง 22 ปี 6 เดือน และจำคุกนายพลอื่นๆ อีก 13 คน
สุธีชี้แจงภัณฑารักษ์ว่าไม่สนับสนุนรัฐบาลทหาร แต่ต่อสู้กับความฉ้อฉลในสภา
ศิลปินผู้นำผลงานสมัยชุมนุม กปปส. ไปแสดงที่หอศิลป์เมืองกวางจู ชี้แจงต่อภัณฑารักษ์ว่า เขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น ยกผลงานตนเทียบเท่าผู้คนร่วมลุกฮือที่กวางจูปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกฝักใฝ่ยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน
สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด 'Thai Uprising'ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)
18 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ นำผลงานศิลปะไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีเป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยการทำจดหมายทักท้วงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน โดยจดหมายของสุธีถึงภัณฑารักษ์ ฉบับแปลภาษาไทยอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
000
จดหมายถึงภัณฑารักษ์
เรียน ลิม จง ยอง (Jong-young Lim)
ผมขอขอบคุณในความกรุณาที่สนับสนุนผลงานของผม และผมอยากที่จะพูดว่าผมรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในนิทรรศการ The Truth_To Turn It Over อันมีเกียรตินี้ ณ Gwangju Museum of Art
ผมอยากจะขอบคุณในความใจกว้างของคุณที่เปิดโอกาสให้ผมได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่มีต่อตัวผม กล่าวโดยสรุป ผมถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนรัฐบาลทหารในปัจจุบัน และที่เลวร้ายไปกว่านั้น คือการสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองอันนำมาซึ่งการรัฐประหารโดยทหาร
ผมขอปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งสอง และต้องการที่จะเน้นย้ำว่ากิจกรรมทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของผม ไม่ได้ทำไปเพื่อเชิดชูทหาร หากแต่มันเป็นการตอบโต้กับความฉ้อฉลของเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผมและคนไทยอีกหลายล้านคนได้ใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน เพื่อต่อต้านการใช้อำนาจอันบิดเบือนอย่างน่ารังเกียจโดยรัฐบาลของเธอ
ในระหว่างการประท้วง รัฐบาลของเธอหน้ามืดตามัวใช้ความรุนแรงเพื่อตอบโต้กลุ่มผู้ประท้วงด้วยม็อบประชาชนที่จัดตั้งโดยรัฐบาลเอง มีบันทึกว่าผู้คนเสียชีวิตไปกว่า 20 ราย ความดื้อรั้นและขาดซึ่งสำนึกความรับผิดชอบต่อประชาธิปไตยของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำมาซึ่งทางตันและสูญญากาศทางการเมือง ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการรัฐประหาร
การใช้อำนาจอันบิดเบือน นำไปสู่การประท้วงโดยมวลชนในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556 รวมไปถึงความพยายามในการใช้ เสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาผลักดันให้เกิดการใช้กฏหมายนิรโทษกรรมในกรณีความผิดเรื่องคอร์รัปชันของทักษิณ ชินวัตร (พี่ชายของยิ่งลักษณ์ ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) นอกจากนี้ ศาลอาญาได้ตัดสินลงโทษทักษิณด้วยการสั่งจำคุก 2 ปี และยังมีอีกหลายข้อกล่าวหาที่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ทักษิณไม่เคยสำนึกตนว่ากระทำผิดและอยู่ในระหว่างการหลบหนีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ยิ่งไปกว่านั้น ยุคสมัยของยิ่งลักษณ์ มีการคอร์รัปชันเกิดขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ มีการประเมินอย่างเป็นทางการว่า การคอร์รัปชันนี้สร้างความสูญเสียมูลค่ากว่าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากโครงการจำนำข้าวเพียงโครงการเดียว ทั้งตัวยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในระดับต่างๆ กำลังถูกฟ้องในอาชญากรรมนี้ในศาลพลเรือน
การกระทำเช่นนี้ชัดเจนว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ก่อให้เกิดความรู้สึกในวงกว้างว่า ผู้คนนับล้านถูกทรยศ รวมถึงตัวผมเองด้วย ผมมีความภาคภูมิใจในการทำหน้าที่ทางประชาธิปไตยในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ในการประท้วงตอบโต้กับการทรยศต่อเสียงโหวตที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้รับจากประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น ผมมีความเชื่ออย่างจริงใจว่า กิจกรรมและความเชื่อของผมมีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือขึ้นก่อจลาจลในเมืองกวางจู เมื่อปี 1980
ในความเป็นจริงแล้ว เผด็จการนั้นมาในหลายรูปแบบ ทั้งทหารและพลเรือน รัฐบาลทหารในปัจจุบันก็จะเผชิญหน้ากับการตอบโต้แบบเดียวกันจากตัวผมและคนอื่นๆ ถ้าทหารเหล่านั้นไม่ให้ความสนใจประชาชนเป็นอันดับแรก หรือถ้าหากทหารไม่คืนประชาธิปไตยให้กับประเทศนี้อย่างที่พวกเขาได้สัญญาเอาไว้
ผมควรที่จะเน้นไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า การเคลื่อนไหวเพื่อที่จะใส่ร้ายป้ายสีชื่อเสียงของผมได้รับการสนับสนุนจากพวกที่ฝักใฝ่ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มันคือเกมทางการเมือง ซึ่งผมไม่ปรารถนาที่จะไปยุ่งเกี่ยวด้วย และผมหวังอย่างจริงใจว่า คุณจะไม่ตกเป็นเหยื่อในลูกไม้ของคนพวกนี้
ผมหวังว่าผมจะมีโอกาสเข้าร่วมในนิทรรศการของคุณ และเชื่อว่าคุณจะมีความยับยั้งชั่งใจต่อข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมต่อตัวผม ซึ่งชัดเจนว่าถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการสร้างสถานการณ์ในรัฐทหารในปัจจุบัน
ด้วยความเคารพ
สุธี คุณาวิชยานนท์
วสันต์-มานิตย์หนุนงานศิลปะสุธี-เหมาะสมสะท้อนภาพต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นอย่างดี
มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ทำหนังสือถึงภัณฑารักษ์ที่กวางจู เพื่อสนับสนุนการแสดงงาน 'สุธี คุณาวิชยานนท์'ว่าเหมาะสม-สะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทย พร้อมเรียกร้องภัณฑารักษ์ให้มีสติและอดทนต่อการ "ใส่ร้ายป้ายสี""ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียง"ของสุธี "ผู้ต่อต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด"
วสันต์ สิทธิเขตต์ (ซ้าย) และมานิตย์ ศรีวานิชภูมิ (ขวา)
ผลงานของสุธี คุณาวิชยานนท์ ชุด "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ที่นำผลงานไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูด้วย (ที่มา: Rama9Art)
18 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ นำผลงานศิลปะไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีที่นำไปแสดงคือ 'Thai Uprising'เป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยการทำจดหมายทักท้วงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
ล่าสุดวันนี้ (18 พ.ค.) มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ซึ่งเคยแสดงผลงานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ได้ทำจดหมายเปิดผนึก [ฉบับภาษาอังกฤษ] [ฉบับแปลภาษาไทย] ถึง ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ผู้ดูแลนิทรรศการศิลปะ ‘The Truth – to Turn It Over’ เพื่อสนับสนุนการแสดงผลงานของสุธี คุณาวิชยานนท์
อนึ่งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึง ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
สำหรับจดหมายเปิดผนึกของมานิตย์ ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ มีรายละเอียดดังนี้
000
เรียน Mr. Lim Jong-young,
ตามที่ปรากฏข่าวบนโซเชียลมีเดีย และหนังสือพิมพ์ไทยบางฉบับว่า ท่านได้รับจดหมายจากคนไทยกลุ่มหนึ่ง ประท้วงการจัดแสดงผลงานศิลปะ ‘The Truth – to Turn It Over’ ของ อาจารย์สุธี คุณาวิชยานนท์ โดยกล่าวหาว่า “ต่อต้านประชาธิปไตย” (Anti democracy) เพราะผลงานและตัวศิลปินผู้มีส่วนร่วมในการประท้วงใหญ่ “ปิดกรุงเทพ” จนนำไปสู่การรัฐประหาร ซึ่งขณะนี้ท่านกำลังพิจารณาเรื่องนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรนั้น
ข้าพเจ้า, ศิลปินไทยผู้รักประชาธิปไตยเช่นกัน ขอส่งสาส์นฉบับนี้มาสนับสนุนการคัดเลือกและแสดงผลงานชุดนี้ที่ท่านเป็นผู้คัดเลือกว่า เหมาะสมและสะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทยได้เป็นอย่างดี
การกล่าวหาผลงานชุดนี้ว่า “ต่อต้านประชาธิปไตย” เพียงเพราะศิลปินเป็นพันธมิตรเข้าร่วมประท้วงกับกลุ่ม กปปส. จนเป็นเหตุอันนำไปสู่การรัฐประหารนั้น นับเป็นข้อกล่าวหาอันตื้นเขิน ไร้เหตุผล ไม่อาจยอมรับได้
การประท้วงของสุธีและประชาชนผู้มีใจบริสุทธิ์ และรักความถูกต้อง จำนวนนับล้านทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เป็นการต่อสู้ขับไล่รัฐบาลเผด็จการรัฐสภา ที่พยายามผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมอัปยศ เพื่อช่วยเหลือ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยให้พ้นความผิดที่ถูกตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปี ในข้อหาคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นพี่ชาย นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น ตลอดจนถึงขบวนการปล้นภาษีประชาชนโดยรัฐบาลของเธอเองในโครงการประชานิยม “รับจำนำข้าว” ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยหลายแสนล้านบาท (เรื่องเช่นนี้ชาวเกาหลีเคยต่อสู้มาแล้ว)
การต่อสู้ดังกล่าวไม่อาจเรียกเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจาก “การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” และนั่นคือสิ่งที่สุธีและพวกเราทุกคนที่นี่กำลังทำอยู่ (เรื่องนี้จึงอยากขอให้ท่านศึกษาประวัติการทำงานศิลปะของสุธีให้ดี จะพบว่าเขาไม่เคยเรียกร้องหรือสนับสนุนเผด็จการในทุกรูปแบบ)
การเกิดรัฐประหารนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มี “นักต่อสู้ประชาธิปไตย” คนใดต้องการให้เกิด และหากไม่มีเหตุผลปัจจัยเพียงพอ เช่น ความรุนแรง รัฐประหารก็ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ ทำไมกลุ่มผู้คัดค้านผลงานของสุธีจึงป้ายความผิดให้แก่ผู้ชุมนุมประท้วงเพียงฝ่ายเดียว ทำไมพวกเขาเหล่านั้นจึงไม่ไปกล่าวหาฝ่ายรัฐบาลเผด็จการสภาอันเป็นต้นเหตุ
ผลงานของสุธีไม่มีความผิด และไม่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารแต่อย่างใด (โปรดอ่านถ้อยคำบนเนื้องานของสุธีประกอบ) ผลงานเหล่านี้เกิดขึ้นในบริบทของการประท้วงรัฐบาล ณ ขณะนั้น
ข้าพเจ้าจึงขอเรียกร้องให้ท่านมีสติและมีความอดทนต่อกระบวนการ “ใส่ร้ายป้ายสี” ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียงของ สุธี คุณาวิชยานนท์ ศิลปินผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด และต้องขออภัยที่ท่านและองค์กรของท่านต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอันสลับซับซ้อน สงครามสร้างภาพลักษณ์ การแย่งชิงมวลชน, อำนาจ และผลประโยชน์ของไทย
ด้วยความนับถือและจริงใจ
มานิต ศรีวานิชภูมิ (แสดงกวางจู เบียนนาเล่ 2006)
วสันต์ สิทธิเขตต์ (แสดงกวางจู เบียนนาเล่ 2004)
จม.ถึงหอศิลป์กวางจูฉบับที่ 2 ขอให้ติดตั้งจดหมายประท้วงคู่ผลงานศิลปะยุค กปปส.
กรณีหอศิลป์กวางจู แสดงผลงานศิลปะยุค กปปส. ในงานรำลึก 36 ปีสลายการชุมนุมกวางจูปี 1980 ล่าสุดบุคคลหลายวงการยื่นจดหมายเปิดผนึก กวป. ฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ ชี้แจงบริบทการเมืองไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปิน Art Lane และ กปปส. และเรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธี คุณาวิชยานนท์ ที่หอศิลป์กวางจู
ด้านอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane นึกว่าเป็นการกดดันให้ถอดงานแสดง จึงทำจดหมายเข้าชื่อกันเพื่อสนับสนุนสุธี ยืนยันว่าสุธีไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร ผลงานของสุธีไม่เคยมีความบกพร่อง เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด 'Thai Uprising'ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)
24 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำผลงานศิลปะไปแสดงที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีเป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยลงลายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกในนาม "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย"หรือ กวป. ทักท้วงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ต่อมาในวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
หอจดหมายเหตุ 518 ที่เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ เป็นสถานที่จัดแสดงข้อมูล ภาพ และวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังมีส่วนจัดแสดงข้อมูลการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ของเอเชียด้วย (คลิกเพื่อชมภาพหอจดหมายเหตุ 518)
กวป. ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 เรียกร้องพิมพ์จดหมายประท้วงติดคู่ผลงานของสุธี
ล่าสุด "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย"ได้ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ โดยชี้แจงบริบททางการเมืองในประเทศไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปินที่จัดกิจกรรมอาร์ตเลนและ กปปส. นอกจากนี้เรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจู กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ยังเรียกร้องพิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู และให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดยหอศิลปะวัฒนธรรมเมืองกวางจู รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 "เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้"โดยจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 รายละเอียดอยู่ที่ท้ายข่าว
หัวหน้ากลุ่ม Art Lane ล่าชื่อหนุนสุธี ยันไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร ผลงานไม่เคยบกพร่อง
อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้ากลุ่ม Art Lane (คนที่ 3 จากซ้าย) ร่วมแถลงข่าวจัดงาน Art lane #9 อิน แปซิฟิก ซิตี้ คลับ เมื่อ 29 เมษายน 2559 โดยเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อประมูลผลงานของศิลปิน Art Lane ระหว่างวันที่ 12-17 พฤษภาคม เพื่อหารายได้ก่อสร้างอาคารเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ (ที่มา: แฟ้มภาพ/มติชนออนไลน์)
อนึ่ง มติชนออนไลน์รายงานเมื่อวันที่ 23 พ.ค. ว่า เฟซบุ๊กของ ชลิต นาคพะวัน อาชีพศิลปิน และนิติกร กรัยวิเชียร อาชีพช่างภาพ ได้เผยแพร่จดหมายฉบับหนึ่งซึ่งลงชื่อว่าเป็นของ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane และยังมีตำแหน่งเป็นคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีผู้ร่วมกันลงชื่อท้ายจดหมายดังกล่าวเพื่อยืนยันว่าประวัติการทำงานของสุธีนั้น "ไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้"โดยจดหมายเปิดผนึกที่ลงชื่อโดยอำมฤทธิ์ อยู่ที่ท้ายข่าว
มติชนออนไลน์ ระบุว่า มีผู้ร่วมลงชื่อเป็นจำนวนมากในหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัย ศิลปิน นางแบบ ผู้กำกับการแสดง ช่างภาพ บรรณาธิการนิตยสาร และผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น รศ.ดร.สุภาวี ศิรินคราภรณ์ อาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร, รศ.สิทธิพร ภิรมย์รื่น อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร, ลูกปลิว จันทร์พุดซา อาจารย์คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร, อัญชลี ไพรีรักษ์ สื่อมวลชน, เบญญา นันทขว้าง เจ้าของธุรกิจส่วนตัว ,ทราย-วรรณพร ฉิมบรรจง ศิลปินและอดีตนักแสดง จี๊ด-สิกขา ฐิตาระดิษฐ์ (แสงทอง เกตุอู่ทอง) นางแบบชื่อดัง รวมถึงนนทรีย์ นิมิบุตร อาชีพผู้กำกับภาพยนตร์
อ้างมีการกดดันให้ถอดงานสุธี - ขณะที่ข้อเรียกร้อง กวป. แค่ขอให้หอศิลป์กวางจูนำเสนอเสียงที่แตกต่าง
ทั้งนี้ในจดหมายของกลุ่ม Art Lane ยังระบุว่ากลุ่ม กวป. "พยายามกดดันให้ภัณฑารักษ์ ชาวเกาหลี ถอดงานออกจากการแสดง"อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจสอบจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ทั้ง ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ไม่มีข้อเรียกร้องให้ถอดงานของสุธีออกจากการแสดงแต่อย่างใด โดยในจดหมาย กวป. ฉบับที่ 1 เป็นการระบุข้อเรียกร้องว่าเป็นการถามภัณฑารักษ์ของนิทรรศการและคณะกรรมการ "ถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการ"และย้ำว่า "เชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู"
ส่วนจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 เรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู เรียกร้องต่อภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจูกล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำผลงานของสุธีมาจัดแสดง และเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธี และผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์ โดยให้หอศิลปะเมืองกวางจูรวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้คนรุ่นหลังเป็นผู้ตัดสินการกระทำของทุกฝ่าย
อนึ่งก่อนหน้านี้ มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ทำหนังสือถึงภัณฑารักษ์ที่กวางจู เพื่อสนับสนุนการแสดงงาน 'สุธี คุณาวิชยานนท์'ว่าเหมาะสม-สะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทย พร้อมเรียกร้องภัณฑารักษ์ให้มีสติและอดทนต่อการ "ใส่ร้ายป้ายสี""ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียง"ของสุธี "ผู้ต่อต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด"(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
000
จดหมายเปิดผนึกกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ฉบับที่ 2
เรียนคุณลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ และผู้อำนวยการหอศิลปะเมืองกวางจู
สำเนาเรียน มูลนิธิ May 18 Memorial Foundation
พวกเราขอขอบคุณที่ท่านสนองตอบต่อจดหมายเปิดผนึกอย่างรวดเร็ว จดหมายตอบของคุณแสดงให้เห็นความตั้งใจจริงที่จะสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกันระหว่างประชาชนไทยและพลเมืองชาวกวางจูตลอดจนประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย พวกเราหวังว่าจดหมายตอบโต้ของพวกเราจะทำให้เกิดความสนใจจากสาธารณชนอันเกิดจากกรณีการเข้าร่วมแสดงงานของศิลปินสุธี คุณาวิชยานนท์ ณ หอศิลปะเมืองกวางจู (Gwangju Museum of Art: GMA) เพื่อจะเรียนรู้ถึงความทุกข์ยากของประชาชนระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เราต้องตระหนักอยู่เสมอว่าพวกเรายืนอยู่ได้ด้วยมรดกความเสียสละของพวกเขาเหล่านั้น
พวกเราได้สื่อสารไปยังเพื่อนสมาชิกกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) เกี่ยวกับจดหมายตอบของคุณ และในนามของ กวป. พวกเรามีข้อเรียกร้องดังนี้
1. เพื่อทำความเข้าใจในบริบทงานของสุธี พวกเราเรียกร้องให้หอศิลปเมืองกวางจูติดตั้งจดหมายเปิดผนึกของเราคู่ไปกับผลงานของสุธี พวกเรายืนยันหลักการที่ว่าเราเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกของศิลปิน แต่จากพฤติการณ์การเข้าร่วมกับกลุ่ม Art Lane (อาร์ตเลน) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ( กปปส.) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการล้มล้างประชาธิปไตยไทย หอศิลปเมืองกวางจูควรจะเผยแพร่ข้อมูลและเสียงที่แตกต่างออกจากผลงานของสุธี
2. พวกเราใคร่ขออธิบายภูมิหลังการร่วมมือระหว่าง อาร์ตเลนและกปปส. และการใช้ความรุนแรงและทำลายล้างประชาธิปไตยในประเทศไทย
ตามข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งในเดือนพฤศจิกายน 2556 ทำให้ประชาชนไม่พอใจอย่างยิ่งและออกมาต่อต้านทั้งฝ่าย กปสส. และ นปช. บางส่วน และประชาชนทั่วไปที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดต่างพากันออกมาเรียกร้อง ประท้วงรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ได้ยุบสภาในวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั่นถือเป็นแนวทางอารยะและสันติสุขในการแก้ปัญหาประเทศ หากแต่เป็นประเด็นสำคัญที่สุธีและผู้สนับสนุนของเขาไม่เคยกล่าวถึงเลย
แทนที่จะยอมรับการยุบสภาและเดินหน้าสู่การเลือกตั้งอันเป็นวิถีประชาธิปไตย บรรดา กปปส. และผู้สนับสนุนต่างปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีรัฐบาลพระราชทานซึ่งเป็นการการะทำที่ผิดรัฐธรรมนูญ ไม่เพียงแต่เท่านั้น ฝ่าย กปปส. ยังเร่งเร้าให้ผู้สนับสนุนออกมาปิดถนน ปิดสถานที่ราชการ และปิดหน่วยเลือกตั้งในทุกวิธีการที่ทำได้ ในนามการรณรงค์ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ซึ่งปรากฏชัดในผลงานของสุธีและผู้สนับสนุนของเขา
ผลของการกระทำดังกล่าวจึงเกิดความรุนแรงบนท้องถนนในหลายจุดทั่วกรุงเทพมหานคร ภายใต้คำขวัญ ‘Shut Down Bangkok’ ทำให้ฝ่าย กปปส. เป็นผู้ได้เปรียบ และเป็นการรุกฝ่ายรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ ตลอดจนผู้สนับสนุนให้เหลือพื้นที่ไม่มากนัก
นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยที่ชี้ว่า ขบวนการ กปปส. เป็นเครือข่ายที่กระทำการร่วมกันและผลักดันให้เกิดวิกฤตจนเปิดทางให้ทหารและกองทัพเข้าแทรกแซง ซึ่งพวกเราสามารถเสนอผลงานวิชาการจำนวนมากในภาษาอังกฤษที่สนับสนุนข้อสรุปนี้ เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจบริบทและสถานการณ์ทางการเมืองไทยที่ซับซ้อนดียิ่งขึ้น
ความรุนแรงบนท้องถนนที่สำคัญที่สุดกรณีหนึ่งก็คือกรณีการปะทะกันหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเกิดกรณีฝ่าย กปปส. กล่าวหาว่า ผู้ชุมนุม นปช. กรีดทำลายสัญลักษณ์พ่อขุนรามคำแหงและเป็นการกระทำที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ฝ่าย กปปส. เรียกร้องระดมคนให้มาปะทะกับฝ่าย นปช. ที่มาชุมนุม ณ รัชมังคลากีฬาสถานใกล้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง แม้จะอยู่ห่างไกลจากเวทีของฝ่าย กปปส. แต่พวกเขาก็ระดมคนมาปะทะจนเกิดผู้เสียชีวิต 5 ราย ในจำนวนนี้เป็น นปช. 3 ราย เป็นฝ่าย กปปส. หนึ่งราย และมีผู้ติดในซากรถที่ถูกเผาหนึ่งราย มีผู้บาดเจ็บกว่า 68 ราย
กรณีการปะทะหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงอย่างต่อเนื่องบนท้องถนนของกรุงเทพมหานครนับแต่กรณีสลายการชุมนุมเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นับจากกรณีปะทะที่ถนนรามคำแหงมีผู้เสียชีวิตกว่า 25 ราย ในจำนวนนี้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เสียชีวิต 3 นายจากความพยายามล้มการเลือกตั้งของฝ่าย กปปส. มีผู้บาดเจ็บรวมกันกว่า 782 ราย ส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงที่ตั้งต้นจากฝ่ายนิยมความรุนแรงของ กปปส.
3. พวกเราเรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของ GMA ได้กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยกระทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
4. พวกเราเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดย GMA รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้
ด้วยความสมานฉันท์
กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.)
ผู้ลงชื่อท้ายจดหมาย กวป. ฉบับที่ 2
1. Abhichon Rattanabhayon Media studio 2. Akara Pacchakkhaphati Film maker 3. Angkrit Ajchariyasophon Artist/ gallerist 4. Anocha Suwichakornpong Film maker 5. Anurak Tanyapalit Freelance 6. Anusorn Tipayanon Writer 7. Apichatpong Weerasethakul Film maker 8. Aranya SiriphonFaculty of Social Sciences, Chiang Mai University 9. Ariya Pacharawan Graphic designer 10. Ariya Theprangsimankul Theatre facilitator
11. Arjin ThongyuukongThammasat University 12. ArjinJonathan Arjinkit Artist/ lecturer, Rajanagarindra Rajabhat University 13. Arnont Nongyao Artist 14. Arthit MulsarnFreelance 15. Arthit Suriyawongkul Activist 16. Artit Srijan Lecturer, Phranakorn Rajabhat University 17. Asira Panaram Content Editor 18. Athapol Anunthavorasakul Lecturer, Chulalongkorn University 19. Atikom Mukdaprakorn Artist/ cultural activist 20. Attaphol Sudawannasuk Artist
21. Ben Busarakamwong Cultural activist 22. Benjamas Boonyarit Student, activist 23. Benjamas Winitchakul Architect 24. Bordin TheparatFilm critic 25. Cattleya Paosrijaroen Film maker 26. Chai Siris Film maker 27. Chaiwat WiansantiaArtist 28. Chaiyan Rajchagool Scholar in residence, Faculty of Political and Social Sciences, University of Phayao 29. Chakkrit Chimnok Artist 30. Chaloemkiat SaeyongFilm maker
31. Chanan YodhongPhD Candidate, Thammasat University 32. Chanin sriyoyod Lecturer, Arts and design, Chaiyaphum Rajabhat University 33. Chayanin TiangpitayagornFilm critic 34. Chettapat Kueankaeo Theater director 35. Chiranuch Premchaiporn Journalist, director of Prachatai 36. Chontida Auikool Thammasat University 37. Chotchuang MeepomLecture 38. Chulayarnnon Siriphol Artist/ film maker 39. Chuwat Rerksirisuk Editor in Chief of Prachatai 40. Chuveath DethdittharakInstitute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University
41. Danaya Chulphuthiphong Photographer/ film maker 42. Ded Chongmankong Photographer 43. Dollapak SuwanpanyaActivist 44. Dontree Siribunjongsak Musician 45. Duangrit Bunnag Architect 46. Duangrurthai Asanachatang Editor 47. Ekanop SuwannakosumGraphic designer/ lecturer, Chiang Mai University 48. Ekkalak NabthuesukLecturer 49. Farida Jiraphan Performance artist 50. Foyfon Chaimongkol PhD Candidate, Burapha University
51. Gandhi Wasuvitchayagit Writer 52. Ina PhuyuthanonLecturer, Faculty of Fine arts, Srinakharinwiriot university 53. Inthira Vittayasomboon Cultural activist 54. Janit Feangfu Lecturer, Chiang Mai University 55. Jarunun Phantachat Theatre director 56. Jirasak Monkiatkul Interior designer 57. Jirat Prasertsup Cultural activist 58. Jirat Ratthawongjirakul Gallerist 59. Judha Suwanmongkol Independent art writer/ researcher 60. Kahat Sujipisut Artist
61. Kasem Phenpinant Department of Philosophy, Chulalongkorn University 62. Kampanart Sangsorn Illustrator 63. Kampol ChampapanHistorian 64. Kanteera Sanguantung 65. Karnt Thassanaphak Poet / documentary photographer 66. Kasem PhenpinantLecturer, Department of Philosophy, Chulalongkorn University 67. Kasiti Sangkul Film director 68. Kavintron Sangsakron Performance artist 69. Keawalee Warutkomain Art director 70. Kengkij KitirianglarpLecturer, Chiang Mai University
71. Kessarin Tiawsakul 72. Kittima Chareeprasit Curator 73. Komluck Chaiya Lecturer,Phranakhorn Si Ayutthaya, Rajabhat University 74. Komtham Domrongchareon Lecturer, Silpakorn University 75. Kongkrit Traiyawong Lecturer, Walailak University 76. Korada Srithongkird 77. Kornkrit Jianpinidnan Artist 78. Kornrapin Mesiyahdol Lecturer, Chiang Mai University 79. Kriangkrai Patomnetikul Graphic designer 80. Krit Lualamai Writer
81. Krittawit RimthepartipWriter 82. Ladapha Sophonkunkit Performance artist 83. Ladda Kongdach Performance artist 84. Lakkana Punwichai Writer 85. Latthapon Korkiatarkul Artist 86. Lyla Phimanrat Gallerist 87. Makha Sanewong Na Ayutthaya Artist 88. Mit Jai Inn Artist 89. Miti Ruangkritya Artist 90. Mo Jirachaisakul Artist
91. Montri Toemsombat Artist 92. Nakin Poonsri Gardener 93. Namfon Udomlertlak Film maker 94. Narawan Pathomvat Researcher 95. Nataya U-Kong Lecturer, Silpakorn University 96. Nawapooh Sae-tang Critic 97. Nithinand Yorsaengrat Journalist 98. Nok Paksanavin Writer 99. Nontawat NumbenchapolFilm maker 100. Nopawat Likitwong Sound artist/ sound engineer
101. Noraset Vaisayakul Artist 102. Nut SawasdeeArtist 103. O Techadilok Graphic designer 104. Orapakk Ruttphatai PhD Candidate, Social Science, Chiang Mai University 105. Orawan Arunrak Artist 106. Ornanong Thaisriwong Performance artist 107. Pakavadi VeerapasapongTranslator, writer 108. Pandit ChanrochanakitLecturer, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University 109. Panithita Kiatsupimon Graphic designer 110. Panu Boonpipattanapong Writer
111. Panu Trivej Lecturer, Kasetsart University 112. Paphonsak La-or Artist 113. Parinot Kunakornwong Artist 114. Pasakorn Intoo-Marn Performance artist/ lecturer, Mahidol University 115. Patara PadungsuntararukThaksin University, Songkhla 116. Pathompon Tesprateep Artist 117. Pattaranan TakkanonLecturer, Faculty of Architecture, Kasetsart University 118. Pavinee Samakkabutr Performance artist 119. Pawaluk Suraswadi Performance artist 120. Pawin Ramingwong Artist/ lecturer, Phayao University
121. Penwadee Nophaket Manont Indendent curator/ cultural worker 122. Phonchai Iamnuy Graphic designer 123. Phu Kra-dart Writer 124. Pichaiwat Saengprapan Artist/ lecturer, Srinakarinwirot University 125. Pimsiri Petchnamrob Activist 126. Pinkaew Laungaramsri,Lecturer, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 127. Pisit Darnwirunhawanit Freelance 128. Pisitakun Kuantalaeng Artist 129. Pitch PongsawatLecturer, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University 130. Piyarat Piyapongwiwat Artist
131. Pongjit Saphakhun Performance artist 132. Potjawan Panjinda Gallerist 133. Prach PanchakunathornPhD candidate, Department of Philosophy, University of Toronto 134. Prakiat Khunpol Poet/ writer 135. Prapat Jiwanrangsan Artist 136. Pratompong Namjaidee Artist 137. Puangthong PawakapanFaculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University 138. Ratapong Pinyosophon Playwright 139. Ratchapoom BoonbunchachokeFilm maker 140. Rattanai Bampenyou Music teacher/ historian
141. Rittipong Mahapetch Activist 142. Rodjaraeg Wattanapanit Cultural activist 143. Ruangsak Anuwatwimon Artist 144. Sakkarin suttisarn/AssistantLecturer, Faculty of Finearts, Chiangmai University 145. Santiphap inkong-ngamFilm maker/ lecturer, Chiang Mai University 146. Saran SamantaratLecturer, Department of Landscape, Faculty of Architecture Kasetsart University 147. Sathit Sattarasart Artist 148. Sawit Prasertphan Artist/ lecturer, Chiang Mai University 149. Sina Wittayawiroj Artist 150. Sirawish BoonsriArt Teacher
151. Sirichoke Lertyaso Photographer/ writer 152. Siripoj Laomanacharoen Writer 153. Somchai Saejiu Creative director 154. Sompoch AungArtist 155.Sompong LeerasiriArtist 156. Songkran SomchandraLecturer, Chiangmai Rajabhat University 157. Sorayut Aiemueayut Lecturer, Chiang Mai University 158. Suchada Suwannasorn Film producer 159. Suchart Swasdsri Writer 160. Sukanya Seskhuntod Cultural activist
161. Supachai AreerungruangLecturer, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University 162. Sutthirat Supaparinya Artist 163. Tada Hengsapkul Artist 164. Takerng PattanopasArtist 165. Tanaphon Inthong Artist 166. Tanate Makkasakul Designer 167. Tanyanun Aoiaree Graphic designer 168.Techit Jiropaskosol Designer/ lecturer 169. Teeramon Buangam 170. Teerapon Anmai Lecturer/ writer
171. Teerapong Suthiwarapirak Writer 172. Teerawat Mulvilai Performance artist 173. Tepwuit BuatoomArtist 174. Thanapas DejpawuttikulDoctoral Researcher, Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University 175. Thanapol Virulhakul Choreographer 176. Thanavi Chotpradit Lecturer, Silpakorn University 177. Thanet AwsinsiriArtist/ lecturer 178. Thanom Chapakdee Lecturer, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University 179. Tharit Tothong Critic 180. Thasnai Sethaseree Artist/ lecturer, Chiang Mai University
181. Thatchatham SilsupanComposer/ lecturer, Chiang Mai University 182. Thawiphat Praengoen Artist/ cultural activist 183. Thida Plitpholkarnpim Film distributor/ Writer 184. Thitibodee Rungteerawattananon Artist 185. Torwong Salwala Media Content Creator 186. Tossapon TassanakunlapanLecturer, Faculty of Law, Chiang Mai University 187. Uthis Haemamool Writer 188. Uthit Attimana Artist/ lecturer, Chiang Mai University 189. Verita SriratanaLecturer, Faculty of Arts, Chulalongkorn University 190. Vichapon Diloksambandh Performance artist
191. Viengrat NethipoFaculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University 192. Vipash Purichanont PhD candidate, Department of Visual Cultures, Goldsmiths, University of London 193. Vorakorn Ruetaivanichkul Film maker 194. Wachara Kanha Film maker 195. Warasinee ChansawangGallerist 196. Wasu wanrayangkoon Performance artist 197. Wattakorn Kawinkham Artist 198. Weroon Wuthirithakul Cultural activist 199. Wichanon Somumjarn Film maker 200. Wichaya Artamat Theatre director
201. Wirapa Angkoontassaniyarat Editor 202. Wiwat Lertwiwatwongsa Film critic 203. Worathep AkkabootaraIndependent curator/ writer 204. Yingsiwat Yamolyong Film maker 205. Yingyod YenarkarnArtist 206. Yukti MukdawijitraLecturer, Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University 207. Yuthchack DamsuwanCreative director 208, Yutthana Darakron Cultural activist 209. Yutthana MeesongCreative director
000
จดหมายเปิดผนึกของหัวหน้ากลุ่ม Art Lane
"ตามที่ได้มีกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ทำจดหมายเปิดผนึก ลงนามโดยบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ รวม 118 ชื่อ ส่งถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีของพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ให้ทบทวนการนำผลงานของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ออกแสดงในนิทรรศการ The Truth_to Turn It Over
โดยมีเนื้อหาชี้นำและปลุกปั่นว่าเป็นศิลปินที่สนับสนุนเผด็จการทหารให้ออกมายึดอำนาจ ประชาธิปไตยไปจากประชาชน คนไทย และพยายามกดดันให้ภัณฑารักษ์ ชาวเกาหลี ถอดงานออกจากการแสดง ที่ เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้
เราขอยืนยันว่าจากประวัติการทำงานของ รศ. สุธี นั้นไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้
จึงใคร่ขอความยุติธรรมให้กับศิลปินชาวไทย โดยร่วมกันลงชื่อสนับสนุน รศ.สุธี ในการแสดงผลงานที่กวางจู และคัดค้านการกระทำที่ขัดต่อความเป็นจริงในครั้งนี้
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา
อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ
หัวหน้ากลุ่ม Art Lane"
'Guerrilla Boys'ไปถึงกวางจูโพสต์ป้ายประท้วงหน้างานศิลปะ กปปส.
ศิลปินกลุ่ม Guerrilla Boys เยือนหอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ พร้อมโพสต์รูปถือป้ายหน้าผลงานศิลปะยุค กปปส. ของ'สุธี คุณาวิชยานนท์'โดยในป้ายเขียนข้อความว่า "ผลงานนี้ยังคงรอ 'รัฐบาลทหาร'เนรมิตประชาธิปไตยให้พวกเขา"
ที่มาของภาพ: เพจ Guerrilla Boys เมื่อ 25 พ.ค. 2559
25 พ.ค. 2559 วันนี้ในเพจของกลุ่มศิลปิน Guerrilla Boys มีการโพสต์ภาพ คนสวมหน้ากากกอริลลายืนอยู่เบื้องหน้าผลงาน "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ผลงานศิลปะของสุธี คุณาวิชยานนท์ ที่จัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’"ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ โดยคนสวมหน้ากากกอริลลายังถือกระดาษเขียนข้อความว่า "This work still waiting 'Junta' create democracy for them!!!"หรือ "ผลงานนี้ยังคงรอ 'รัฐบาลทหาร'เนรมิตประชาธิปไตยให้พวกเขา"และลงชื่อ Guerrilllaboys ท้ายข้อความ
โดยภาพด้านหลังของศิลปินที่เป็นสมาชิก Guerrilla Boys เป็นโปสเตอร์ในงาน "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ที่สุธีสร้างสรรค์ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2557 และใช้ในช่วงรณรงค์ของ กปปส. โดยในโปสเตอร์เขียนข้อความที่เป็นคำขวัญในช่วงการเคลื่อนไหวของ กปปส. เช่น "Reform Now ปฏิรูปก่อน""ยึดคืนประเทศไทย""ไทยอย่าเฉย"ฯลฯ
ทั้งนี้ในเพจของศิลปินกลุ่ม Guerrilla Boys ระบุว่าโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นจากจดหมายฉบับที่ ธนาวิ โชติประดิษฐ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนจดหมายเปิดผนึกไปยัง ลิม จงยอง เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดง โดยในโพสต์มีการอ้างถึงจดหมายฉบับดังกล่าว
"เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรศการ 2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น"(อ่านจดหมายฉบับดังกล่าว)
ที่มาของภาพ: เอื้อเฟื้อภาพโดยเพจ Guerrilla Boys เมื่อ 25 พ.ค. 2559
และเมื่อถ่ายภาพคู่กับงานศิลปะแล้ว Guerrilla Boys ได้ปริ้นท์รูปที่ถ่ายจากกล้องโพลารอยด์และลักลอบแปะภาพถ่ายในจุดต่างๆ เพื่อส่งสารถึงภัณฑารักษ์ของหอศิลปะเมืองกวางจูด้วย
อนึ่งสุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำผลงานศิลปะไปแสดงที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีเป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยลงลายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกในนาม "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย"หรือ กวป. ทักท้วงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ต่อมาในวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ล่าสุด "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย"ได้ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ โดยชี้แจงบริบททางการเมืองในประเทศไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปินที่จัดกิจกรรมอาร์ตเลนและ กปปส. นอกจากนี้เรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจู กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ยังเรียกร้องพิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู และให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดยหอศิลปะวัฒนธรรมเมืองกวางจู รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 "เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้"(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ขณะที่อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane และยังมีตำแหน่งเป็นคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เขียนจดหมายไปถึงภัณฑารักษ์ที่หอศิลปะเมืองกวางจู เพื่อสนับสนุนสุธี โดยมีผู้ร่วมกันลงชื่อท้ายจดหมาย เนื้อความในจดหมายระบุว่าประวัติการทำงานของสุธีนั้น "ไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้"
สุธี คุณาวิชยานนท์ ยินดีให้ติดจดหมายทักท้วงคู่งานศิลปะที่กวางจู-มานิตฮึ่ม! ยุให้ฟ้อง
“กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม” แถลงหนุน ‘สุธี คุณาวิชยานนท์’ ออกจดหมายถึงภัณฑารักษ์เกาหลี อย่าให้กลุ่มที่ไม่มีคนรู้จักอ้าง "ความถูกต้องทางการเมือง"เซ็นเซอร์การแสดงออกของศิลปิน - ทำลายชีวิตและวิชาชีพของศิลปินและนักวิชาการผู้เป็นที่นับถือ - มานิต ศรีวานิชภูมิ ฮึ่ม! รับไม่ได้ กล่าวหาลอยๆ ว่าต่อต้านประชาธิปไตย-ยุให้สุธีฟ้องกลับ หรือทำให้คนที่กล่าวหามาขอโทษ – สุธีแถลงศิลปินควรมีอิสระ-ไม่ถูกบังคับ ส่วนจะติดจดหมายทักท้วงคู่ผลงานก็ไม่มีปัญหา
26 พ.ค. 2559 กรณีที่ สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเชิญผลงานศิลปะชุด The truth To turn it over ร่วมกับศิลปินอีก 5 ประเทศ ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) อย่างไรก็ตาม มีผลงานส่วนหนึ่งของสุธีในชุด "มวลมหาประชาชน/Thai Uprising"เป็นงานในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ทำให้ “กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” หรือ กวป. ทำจดหมายเปิดผนึกทักท้วงไปยังภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ โดยระบุว่าผลงานดังกล่าวของสุธีมีข้อเท็จจริงตรงข้ามกับจิตวิญาณการต่อสู้ของชาวกวางจู อีกทั้งยังมีสมาชิก กวป. แถลงว่า เป็นงานศิลปะของศิลปินที่สนับสนุน กปปส. และกลายเป็นส่วนหนึ่งของการล้มกระบวนการประชาธิปไตย
ผู้ร่วมแถลงข่าวสนับสนุนและให้กำลังใจสุธี คุณาวิชานนท์ (จากซ้ายไปขวา) จรูญ อังศวานนท์ ศิลปินแห่งชาติ, อภิศักดิ์ สนจด ผู้ดำเนินรายการ, ไพโรจน์ ธีระประภา หรือ โรจน์ สยามรวย ศิลปินนักออกแบบ ผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร, มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปิน และ สุธี คุณาวิชานนท์
ผู้ร่วมแถลงข่าวสนับสนุนและให้กำลังใจสุธี คุณาวิชานนท์ (จากซ้ายไปขวา) จุมพล อภิสุข จรูญ อังศวานนท์ ศิลปินแห่งชาติ, อภิศักดิ์ สนจด ผู้ดำเนินรายการ, ไพโรจน์ ธีระประภา หรือ โรจน์ สยามรวย ศิลปินนักออกแบบ ผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร, มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปิน และ สุธี คุณาวิชานนท์
ล่าสุดวันนี้ (26 พ.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่โรงแรม Somerset ทองหล่อ คณะศิลปินในนาม “กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"นำโดยสุธี คุณาวิชยานนท์, จรูญ อังศวานนท์ จุมพล อภิสุข, มานิต ศรีวานิชภูมิ, ไพโรจย์ ศรีประภา อภิศักดิ์ สนจด ฯลฯ จัดแถลงข่าวในเรื่อง "บทบาทและจุดยืนของศิลปินที่มีจิตสำนึกสาธารณะ” ต่อกรณีที่ที่ กวป. ทำจดหมายประท้วงการแสดงผลงานของสุธีดังกล่าว
โดย "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"ได้เผยแพร่จดหมายถึงสื่อมวลชนในประเทศไทย และส่งจดหมายเปิดผนึกถึง จอง-ยัง ลิม ลงฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 และมีผู้ร่วมลงนามข้างท้ายเป็นจำนวน 512 คน โดยมีเนื้อหาว่า สุธีและเพื่อศิลปินภายใต้กลุ่ม Art Lane ได้ทำกิจกรรมระดมทุนและให้เงินสนับสนุนกลุ่ม กปปส. เพราะทุกคนมีแนวคิดและเป้าหมายที่ตรงกัน นั่นคือการคัดค้านกฏหมายนิรโทษกรรม และการคอรัปชั่นของรัฐบาลในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการจำนำข้าว การร่วมชุมนุมของสุธีและกลุ่มไม่ได้มีเจตนาที่จะปูทาง หรือสนับสนุนให้มีการรัฐประหารแต่อย่างใด ผลงานชุดดังกล่าวของสุธีนั้นได้แสดงถึงเสรีภาพในการทำงานของศิลปินตามแนวทางของประชาธิปไตย ซึ่งมีความสอดคล้องกับนิทรรศการที่จัดขึ้น ศิลปินทุกคนควรมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็น อีกทั้งยังกล่าวว่า ลิม จองยัง ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่สมควรทำตามกระแสกดดันจาก กวป. และเครือข่าย โดยเนื้อหาของแถลงการณ์สามารถอ่านได้ที่ท้ายข่าว
ส่วนหนึ่งของผลงานที่สุธี คุณาวิชยานนท์ จัดแสดงในนิทรรศการศิลปะ The truth To turn it over ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่าง 10 พฤษภาคม - 15 สิงหาคม 2559 (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพโดย "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม")
จรูญ อังศวานนท์ ไม่เชื่อบ้านเมืองอยู่ใต้เผด็จการ - คสช. ยุติความเสียหายก่อนจลาจลกลางเมือง
ในช่วงแถลงข่าว จรูญ อังศวานนท์ ศิลปินแห่งชาติ กล่าวว่า หากกล่าวว่าผลงานชิ้นดังกล่าวสนับสนุนเผด็จการ แล้วเผด็จการอยู่ที่ไหน ตนไม่เชื่อว่าตอนนี้บ้านเมืองอยู่ภายใต้เผด็จการ จรูญ กล่าวด้วยว่า คสช. เข้ามายุติความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์จลาจลกลางเมือง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้กล่าวได้ว่า ผลงานของสุธีกำลังถูกครอบงำจากการเป็นตัวเอง จากกลุ่มเผด็จการเลือกตั้ง ตนยืนยันว่าสุธีไม่ได้สนับสนุนเผด็จการ
มานิต ศรีวานิชภูมิ รับไม่ได้กล่าวหาลอยๆ ว่าต่อต้านประชาธิปไตย แนะนำสุธีให้ฟ้อง
มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปิน กล่าวว่า เขารับไม่ได้กับเหตุการณ์ดังกล่าวที่มากล่าวหากันลอยๆ ว่าใครต่อต้านประชาธิปไตย ตนพยายามบอกสุธีว่าให้ฟ้อง หรือทำอย่างไรเพื่อให้กลุ่มคนที่มากล่าวหาออกมาขอโทษ โดยเฉพาะขอโทษออกสื่อ เพื่อที่จะได้รู้ว่าไม่สามารถออกมากล่าวหาใครได้ง่ายๆ
เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ชี้ให้เห็นได้ว่า หลายคนพยายามทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ขึ้น มีการพยายามปกปิดอะไรบางอย่าง และชูประเด็นบางอย่างขึ้นมาทดแทน เขากำลังช่วงชิงประวัติศาสตร์จากมวลมหาประชาชน ต้องแยกให้ออกว่าคนที่ออกมาประท้วงนั้นไม่ใช่คนที่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร
มานิตกล่าวทิ้งท้ายว่า ความคิดเห็นของเขาคือ หากไม่เห็นด้วยกับ กปปส. อย่างไรก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ไป
ไพโรจน์ ธีระประภา บอกอีกฝ่ายเลือกพูดบางส่วน ย้ำมีสิทธิแสดงความเห้น แต่ไม่มีสิทธิพิพากษา
ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปินนักออกแบบ รางวัลศิลปาธร กล่าวว่า ปัญหาหลักในตอนนี้นั้นคือความไม่เป็นธรรม การที่คนบางกลุ่มออกมาเลือกพูดบางส่วน หรือพูดความจริงแค่ครึ่งเดียวนั้น มันเป็นแค่การโฆษณา ไม่ใช่การเผยแพร่ความจริง ตนยืนยันว่าศิลปินมีสิทธิที่จะแสดงออก เหมือนกับกลุ่มอื่นๆ ก็มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น แต่ไม่มีสิทธิที่จะมาพิพากษาผลงานของคนอื่น
จุมพล อภิสุข ชี้ประชาธิปไตยของทุกคนไม่เหมือนกัน ศิลปะทุกกลุ่มควรหันหน้าพูดคุยกัน
จุมพล อภิสุข ศิลปิน กล่าวว่า ประเด็นนี้ค่อนข้างเปราะบาง ประชาธิปไตยของทุกคนไม่ได้หมายความว่าเป็นประชาธิปไตยที่เหมือนกันทั้งหมด การวิจารณ์งานศิลปะนั้นเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่จะวิจารณ์เพื่อเหตุผลใดเท่านั้น สุดท้ายแล้วศิลปินทุกกลุ่มก็ควรหันหน้าเข้ามาคุยกัน เพราะประชาธิปไตยที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายนั้นมันไม่ใช่ประชาธิปไตย
สุธียืนยันไม่สนับสนุนรัฐประหาร ตัวเขาเชื่อเรื่องเสรีภาพการทำงาน ไม่ขัดข้องหากจะติดจดหมาย กวป. คู่ผลงาน
สุธี คุณาวิชยานนท์ ระหว่างงานแถลงข่าว
ด้าน สุธี คุณาวิชยานนท์ ศิลปินเจ้าของผลงาน กล่าวว่า ยืนยันว่าตนไม่ได้สนับสนุนการรัฐประหาร ผลงานของตนในชิ้นอื่นๆ ก็เคยได้รับรางวัลจากกลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันในขณะนี้ เขาเองมีความเชื่อในเรื่องของเสรีภาพในการทำงาน ศิลปินไม่ควรถูกบังคับและมีอิสระ ในการทำงาน การที่ตนเข้าร่วมกับกลุ่มศิลปิน Art Lane เพื่อสนับสนุนกลุ่ม กปปส. นั้น ตัวเขาก็ทำเพื่อต้องการช่วยเหลือและแสดงความคิดเห็นเพียงเท่านั้น
ในส่วนของผลงานที่หอศิลปะเมืองกวางจูนั้นหากจะมีการติดตั้งส่วนข้อทักท้วงจาก กวป. คู่กับผลงานของเขาก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่หากจะมีการถอนงานที่กำลังจัดแสดงอยู่นั้นตัวเขาไม่ยินยอม เนื่องจากการถอดงานดังกล่าวนั้นต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย ทั้งทางพิพิธภัณฑ์เองและเจ้าของผลงาน การออกมาแถลงข่าวในครั้งนี้ตนเพียงต้องการให้เกิดบรรยากาศที่ดีมากขึ้นทั้งที่ประเทศไทยและที่กวางจูเอง เนื่องจากทางหอศิลปะเมืองกวางจูก็มีความกังวลอย่างมาก การแถลงข่าวครั้งนี้จึงจัดขึ้นเพื่อให้เข้าใจในข้อเท็จจริงเดียวกัน สุธีกล่าว
สุธียังกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า เขาไม่ได้รังเกียจที่จะถูกเรียกว่าเป็นศิลปิน กปปส. เพียงแต่ต้องถามว่าจะชี้วัดกันอย่างไรว่าใครเป็น กปปส. ในเมื่อบางคนก็มาเพราะมีจุดร่วมบางอย่าง ถึงแม้จะไม่ได้คิดเหมือนกันไปทั้งหมด ทั้งนี้งานแถลงข่าวของ “กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"สิ้นสุดในเวลาประมาณ 12.30 น.
000
อนึ่งก่อนหน้านี้ “กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” หรือ กวป. เขียนจดหมายเปิดผนึกและแนบรายชื่อถึงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของหอศิลปะเมืองกวางจู 2 ฉบับ โดยทั้ง 2 ฉบับ ไม่มีข้อเรียกร้องให้ถอดงานของสุธีออกจากการแสดง โดยในจดหมาย กวป. ฉบับที่ 1 เป็นการระบุข้อเรียกร้องว่าเป็นการสอบถามภัณฑารักษ์และคณะกรรมการของหอศิลปะเมืองกวางจู "ถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการ"และย้ำว่า "เชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู"(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ส่วนจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 เรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู เรียกร้องต่อภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจูกล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำผลงานของสุธีมาจัดแสดง และเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธี และผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์ โดยให้หอศิลปะเมืองกวางจูรวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้คนรุ่นหลังเป็นผู้ตัดสินการกระทำของทุกฝ่าย (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
อนึ่งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ขณะเดียวกันเมื่อวานนี้ (25 พ.ค.) กลุ่มศิลปิน Guerrilla Boys และโพสต์ภาพ คนสวมหน้ากากกอริลลายืนอยู่เบื้องหน้าผลงาน "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ผลงานศิลปะของสุธี คุณาวิชยานนท์ ที่จัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’"ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ โดยคนสวมหน้ากากกอริลลายังถือกระดาษเขียนข้อความว่า "ผลงานนี้ยังคงรอ 'รัฐบาลทหาร'เนรมิตประชาธิปไตยให้พวกเขา"และลงชื่อ Guerrilllaboys ท้ายข้อความ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
000
เรียน สื่อมวลชนและประชาชนชาวไทยทุกท่าน
เรื่อง บทบาทและจุดยืนของศิลปินที่มีจิตสำนึกสาธารณะ
สืบเนื่องจากกรณีที่มีกลุ่มบุคคลในนาม “นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (กวป.) ทำจดหมายเปิดผนึกพร้อมแนบรายนามท้าย 118 คน (ต่อมาเพิ่มเป็นราว 200 คน) ถึง นายจอง-ยัง ลิม (Jong-Young Lim) ภัณฑารักษ์ผู้คัดสรรผลงานสำหรับนิทรรศการ The Truth To Turn It Over ที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสรำลึก 36 ปี ของการเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตย 18 พฤษภาคม 1980 ของชาวกวางจู ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ โดยมีเนื้อหาในลักษณะคัดค้านการคัดเลือกผลงานชื่อ “Thai Uprising” ของรองศาตราจารย์ สุธี คุณาวิชยานนท์ โดยให้เหตุผลว่าผลงานชุดดังกล่าวที่รองศาสตราจารย์สุธีสร้างขึ้นระหว่างปี 2556 ถึง 2557 เพื่อประท้วงรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการสร้างผลงานขึ้นมาในระหว่างจัดกิจกรรมกับกลุ่ม Art Lane เพื่อระดมทุนให้ กปปส. ซึ่งเป็นกลุ่มที่ประท้วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและยังเรียกร้องให้ทหารทำรัฐประหาร
กวป. ได้กล่าวหาว่า “สุธีเข้าร่วมกับ กปปส. ซึ่งนำมาสู่วิกฤตทางการเมืองและรัฐประหาร”, “นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู” และมีสมาชิก กวป. ให้สัมภาษณ์ย้ำอีกว่า “งานศิลปะของศิลปินที่สนับสนุน กปปส. กลายเป็นส่วนหนึ่งของการล้มกระบวนการประชาธิปไตย...” กวป. ได้กดดันให้นายจอง-ยัง ลิม กล่าวขอโทษอีกด้วย นอกจากนี้สมาชิกบางคนของ กวป. และเครือข่ายในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คยังนำประเด็นดังกล่าวไปกล่าวหาต่อไปว่า รศ.สุธี และเพื่อนศิลปินที่ทำงานเคลื่อนไหวในขณะนั้นเป็น “ศิลปินต่อต้านประชาธิปไตย”
พวกเราในนามของ "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม” หรือผู้ที่ลงนามข้างท้ายจดหมายเปิดผนึกถึงนายจอง-ยัง ลิม ฉบับลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 จำนวน 512 คน ขอแสดงจุดยืนในกรณีดังกล่าวดังนี้
1. ในระหว่างการชุมนุมปี 2556-2557 รศ.สุธีและเพื่อนศิลปินร่วมชุมนุมและทำงานศิลปะในการทำกิจกรรมและการระดมทุนของกลุ่ม Art Lane ในขณะที่ กปปส. เป็นแกนนำในการชุมนุม และให้เงินสนับสนุน กปปส. บางส่วนก็เพราะทุกคนมีแนวความคิดและเป้าหมายที่ตรงกันนั่นคือ คัดค้านกฏหมายนิรโทษกรรมที่ฉ้อฉล, คัดค้านการคอรัปชั่นของรัฐบาลในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "โครงการรับจำนำข้าว” และเรียกร้องการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้ประเทศไทยพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
2. การร่วมชุมนุมและการทำงานศิลปะของ รศ.สุธีและเพื่อนศิลปินร่วมชุมนุมในขณะนั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะ "ปูทาง” หรือเรียกร้อง หรือสนับสนุนให้ทหารทำรัฐประหาร หรือสนับสนุนเผด็จการแต่อย่างใด
3. ผลงานชุด "Thai Uprising” ของ รศ.สุธี ได้แสดงถึงสิทธิ, เสรีภาพและหน้าที่ของศิลปินตามแนวทางประชาธิปไตย มีความเหมาะสมกับนิทรรศการ The Truth To Turn It Over ที่จัดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวกวางจูเป็นอย่างยิ่ง นายจอง-ยัง ลิม ได้ทำหน้าที่อย่างดีเยี่ยม ไม่สมควรทำตามกระแสกดดันจาก กวป. และเครือข่าย
4. ศิลปินและนักทำงานด้านวัฒนธรรมทุกคน มี "สิทธิและเสรีภาพ” ส่วนบุคคลในการแสดงออกทางความคิดเห็นและการแสดงออกทางศิลปะเช่นเดียวกับประชาชนไทยทุกคน แต่สิ่งที่ใหญ่ไปกว่านั้นคือ "บทบาทและหน้าที่” ที่สำคัญยิ่ง ศิลปินฯ ต้องมีจิตสำนึกสาธารณะ รู้จักแบ่งปันเวลาของตนทำงานอุทิศให้สังคมโดยรวม ต้องมีสำนึกชอบในการที่จะช่วยปกป้องรักษาบ้านเมืองให้น่าอยู่สำหรับคนทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นประเด้นของการต่อต้านคอรัปชั่น, การส่งเสริมประชาธิปไตย, การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
ด้วยความจริงใจ
“กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม”
(512 ชื่อแนบท้าย)
จดหมายเปิดผนึกถึงคุณ จอง-ยัง ลิม
“ความจริง-อย่ากลับหัว”
เราผู้ร่วมลงนามข้างท้ายนี้ ขอแสดงความห่วงใยอย่างสูงต่อการทำลายความน่าเชื่อถือทางวิชาชีพ เพื่อสังหารภาพลักษณ์ของ รองศาสตราจารย์สุธี คุณาวิชยานนท์ โดยกลุ่มบุคคลที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อนที่เรียกตนเองว่า “นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (กวป.)
การหมิ่นประมาทสร้างภาพกล่าวหารองศาสตราจารย์สุธี หลายครั้งอย่างจงใจว่าท่านเป็น “ศิลปินต่อต้านประชาธิปไตย” ไม่เพียงแต่ไร้ข้อเท็จจริงและเป็นพิษภัย แต่ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อชื่อเสียงและอาชีพการงานของรองศาสตราจารย์สุธี เราหวังว่าท่านจะไม่ถูกชักนำให้หลงประเด็นโดยความพยายามครั้งนี้ที่จะอ้าง “ความถูกต้องทางการเมือง” (“Political Correctness”) มาใช้เป็นเครื่องมือเซ็นเซอร์การแสดงออกของศิลปิน ทำลายชีวิตและวิชาชีพของศิลปินและนักวิชาการผู้เป็นที่นับถือ ซื่อตรงและกล้าหาญ ผู้มีเกียรติประวัติการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอันเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชนมายาวนาน
ด้วยความจริงใจ
Achara Jansanjai,Business Owner
Achita Pramoj Na Ayudhya,Artist
Adool Booncham,Artist,Lecturer
Aim-ora Bunnag,Top Management member,Intage Thailand-Market Research
Akalaphon Adam, Skull Artist
Alongkorn Lauwatthana,Artist
Alongkorn Sumalee,Automotive Engineer,Photographer
Alongkorn Thaubol, Business Owner
Alongkot Pechtsrisook, Artist
Amrit Chusuwan, Artist
Anag Pongpanon,Graphic Designers
Anan Nuchawong, Art Director
Ananya Sinwachara, Employee
Anchalee Paireerak,Reporter
Anchana Nangkala,Artist,Art Lecturer
Anilin Buranarisi, Self Employed
Anita Vachiramano, Self-employed
Anocha Thongpradoo, Employee
Anotai Ngamsrirat
Anucha Kaewvichain, Creative Director, Jump Communications
Anucha Prangprasert,Artist
Anuchai Secharunputong,Artist,Professional Photographer
Anurot Chanphosri,Freelance Artist
Anurux Jansanjai,Film Director
Anusara Chokvanithpong, Legal Director
Anusart Tubtun,Graphic Designer
Apawee Phuekchaidee,Banker,SCB Bank
Apichaya Jansinjai,Student at Cenral Saint Martins
Apiradee Chutatat,Veterinarian
Apisek Wongwasu,Bussiness Owner
Apishaya Tepnimit
Apiwut Thirachtikul,Artist,Graphic Designer,Fashion Designer
Aranya Siyanont, Director, Actor
Araya Pawangkanan,Interior Designer
Areepa Phuekchaidee,VP of UOB
Arkom Kongnaphakdee,At Director of VIF Sculpture co.,Ltd
Arkom Sombuttham, Artist
Arnond Sakwarawich, Ph.D., Head of Business Analytics and Intelligence Program, Graduate School of Applied Statistics, NIDA
Arpakorn Boonyakornburi, Artist
Artit Nantapornpipat,Freelance Artist
Arunee Chuboonraj, Assistant Editor Ploykaempetch Magazine
Arunee Hunsacharoonroj,Lecturer,Chulalongkorn University
Arunothai Jankamkum,Art Director
Ass.Prof.Arwin Intrungsri,Lecturer
Ass.Prof.Kittichai Kantang,Art Instuctor,Rajamangala Lanna University
Ass.Prof.Nawin Biadklang, Artist,Head of Painting Department,Silpakorn University
Assada Sreshthaputra,Director of Photography
Associate Professor Dr.Supavee Sirinkraporn,Instructor,Faculty of Decorative Arts,Silpakorn University
Associate Professor Sitthiporn Piromruen,Instructor,Faculty of Architecture,Silpakorn University
Associate,Dr.Khiensak Seangklieng,Architect
Athip Nana,Celebrity,Actor
Atikun Jansanjai,Student at Central Saint Martins
Atinuch Malakul, Dentist, Lecturer Chulalongkorn University
Atipat Kamonpet,Director
Atitaya Kantharak,Interior Designer
Attaporn Theemakorn, Director, Actor
Autchut Arayapongstorn,Executive Director
AVM.Sureeporn Boonjong, MD>Honorary Surveyor, The Healthcare Accreditation Institute(Public Organization) Ethic Committee, Thai Medical Council
Benya Nandakwang, CEO White Kitchen Company Limited
Boonkasem Kowsanti,Artist,Managing Director Krabi Heartel
Boonrot Meesupkwang,Artist,Head of Painting Department
Borirak Supatriworapong,Artist,Art Lecturer
Bulakorn Chantramitr,Freelance Artist
Buraorn Chumcheun, Radio Presenter
BusarinTanpipat,Lecturer
Captain Kaewlumhud,Lecturer in Advertising Design
Chai Rachawat, Editorial Cartoonist, Thairath Daily, Bangkok
Chainarong Wirunphat,Advisor,Art Lecturer
Chaipat Banditwattanawong,Designer
Chairat Bin-Abdunlahman,Artist
Chaiwoot Thaimpan, Artist
Chaiwut Ruemrhedeekul,Artist,Lecturer
Chaiyan Khomkeow,Artist,Lecturer
Chaiyaporn Chinaprayoon, Banker
Chaka Kulphaetya, Executie Secretary
Chalermpol Chomnakorn, Visualizer, Grouphead Advertising
Chalit Nakpawan, Artist
Chalitpan Niyomyam,Business Owner
Chalong Boonchantuk,Production Designer
Chamni Thipmanee,Artist,Professional Photographer
Chanachai Ketsrirat,Artist
Chananya Kuppatanortrta,Artist
Chanikan Sangdee,Teacher
Chanisara Tejasen, Senior HRBP, Gullivers Travel Associate, Thailand & Juoni Global Travel Expert
Chanjira Nimpitakpong,Bussiness Owner
Chanon Bovonmongkolsak, Self-Employed
Chantana Srisawat, Artist, Owner of Shata Studio
Chanya Thongnhu, Freelance Accountant
Charoenkwan Blarharski,Columnist
Charoon Ansavananda,The National Artist
Chatchawarn Chanchotibutr,Professional Photographer
Chatchawin Unhanun,Editor-In-Chief Men's Health(Thailand)
Chawanet Asanasen,Music Producer
Chaweewan Namkote,Staff Company Bookpromotion&service.co.Ltd
Chayakarn Nuamtiab, Service Support Officer, Bank of Ayudhaya Public Company Limited
Chira Vichaisutthikul,Artist,Professional Photographer
Chitsanuphong Phengpan,Editor-in-Chief Moremove
Chittima Srinun,Admin
Chiva Lapintungsutthi,Professional TV Producer,Chiva Classic
Chollasinth Chorsakul, Artist
Chomnad Manopaiboon, Chief, Prevention Section
Choncheun Soonthornrote,Employee
Chookiat Likitpunyarut, Interior Desinger, Lecturer
Chorbun Chuenprayoth,Creator
Chorbun Sirikojakorn, Export Sales & Marketing Supervisor, KC Fresh Company Limited
Chulalaux Piyasombatkul, Eyewear Designer, Owner Brand Moo Eyewears
Chumpol Apisuk,Artist
Chutaphant Pinswasdi, Retired Government Officer, Chulalongkorn University
Dinhin Rakpong-Asoke,Artist
Ditapong Boonsanong,Art Teacher
Doungkwan Viriyakijnateekul,Employee
Dr,Veerachai Tanpipat,Advisor of Hydro and Agro Informatics Institute,Ministry of Science and Technology
Dr.Churdchoo Ariyasriwattana
Dr.Patusiree Rattanakarn,Bussiness Owner
Dr.Samart Jubjon,Artist,Art Lecturer
Dr.Savitri Saengchansri
Duangchan Wongrabeab,Sales
Duangkeo Srichaiwan, Artist
Duangphorn Tangchitnob, Laem Thong Bird's Nest (Siam) Co., Ltd.
Duangrutai Kuakool, Nurse, Songklanagarind Hospital, Prince of Songkla University
Ekarat Chirapongse, Businessman
Em Singhaviboon,Art Teacher
Fontham Buaphuchphong,Artist
Gessanie Skuldist, Weaving Designer & Instructor
Gloyta Nathalang, Employee
Gumsak Atipiboonsin,Artist
Hassakun Chanklom,Bussiness Owner
Hassapong Chomchuenjitsin, Artist
Hassapop Tangmahamek, Writer & Assistant Director of ARDEL Gallery of Modern Art
Hatairat Estrella Montien, Museum Consultant
Imhathai Suwatthanasilp,Artist,Art Instructor , Silpakorn University
Ingsarut Buasa,Sopport Sale
James Alan Hutchison,Reporter,Cameraman
Jamigorn Sangsiri,Artist
Janthip Satiratham, Housewife
Janya Kwangkaew,Employee
Jaratsri Prasondee,Bussiness Owner
Jaru Wongkamchantra,Artist,Gallerist
Jaruwat Boonwaedlorm, Artist
Jaturong Padungsapya, Researcher
Jerawan Teraprechachan, Employee
Jessada Juncharungjit, Artist
Jetnipat Thatphaiboon,Artist
Jidtakorn Busaba, Television News Anchor, Columnist Naewna Newspaper
Jiravara Virayavardhana,Employee
Jiravich Nathalang, Employee
Jiravut Dusadeepun,Artist&Advertising
Jirawit Sombatsiri, Business Owner
Jirayu Cunningham,Housewife
Jirayu Uttaranakorn, Maganer, Communications and Strategies, Clean Energy Research Institute, Canada
Jitsing Somboon, Artist & Designer,Fashion Lecturer
Jo Surat,Professional Photographer
Kabngoen Settajinda, Team Executive, Brand Strategy Team, Bank of Thailand
Kachaphol Vichavesthepa,Architect
Kaewchieranai Chumsaeng Na Ayudhaya, Co-producer TV Program, Helconia H Group Co., Ltd.
Kaewtrakan Junlabon,Artist
Kamalinee Chaiyaphaeka,Nurse
Kamolchanok Poomrawan,Artist
Kamolwan Tapasanan, Director of Suvarnachard Animal Hospital, Mongkolchai Pattana Ltd.
Kanang Mendhaka,Creative,Freelance Artist
Kang Ampawa, Artist
Kanikar Viravan,Housewife
Kanjana Sirich,Lecturer,Kuakarun Faculty of Nursing.NMU
Kanjana Subsirikiate,Sales&Spec
Kanokporn Laopiyasakul,Art Teacher
Kanokwan Ploychad, Casting TVC
Kanongnaj Yimsiri, Designer and Owner of Khien's Work Shop
Kantapat Viroonkawat,Thai Designer
Kanya Chareonsupakul,Artist,Art Instuctor,Silpakorn University
Kanyanat Pokpong,Teacher
Kasemsun Bhantumkomol
Keskarn Arirarat,Designer
Kiatanan Iamchan,Artist
Kidasada Bonnsire, Self-Employed
Kingtien Charoenyang, Producer, Remind Co., Ltd.
Kitthanon Laosriwijit, Pure Precious Stones and Diamond Jewellry
Kitti Parimayatarchai,Artist
Kittichai Teeratwitcha,Freelance Artist
Kittinan Rakana,Film Director
Kittisak Cholprasertsuk,Artist
Kongsak Gulglangdon, Artist,Art Instructor , Silpakorn University
Korakoth Kunalungkarn, Interior Designer
Kosak Chotiyanonda, Managing Director, Sucharitkul Accounting and Legal Consultant Office
Kowit Anak-ananun, Artist
Kraisorn Prasert, Art Instructor
Krisana Chokchaowat,Freelance Art Director Magazine
Krissanapong Kiattisak, News Anchor Bluesky Chanel
Krissanapong Manotham,Employee
Kruawan Chownwai,Housewife
Kusuma Raksamani, Professor Emeritus, Silpakorn University
Ladda Lucas,Housewife
Lalinthorn Pencharoen,Artist,Lecturer,Silpakorn University
Lalit Lertmaithai,Creative
Lapon Kesornmala,Architect
Latchana Kongdee,Public Relations Manager
Luckkana Thaweesuk, Managing Director Media
Lugpliw Junpudsa,Art Lecturer, Sculpture Department,Silpakorn University
Mana Kwangsue,Artist
Manit Sriwanichpoom, Artist
Marisa Chadyapa,Production Designer
Mathurin Possawongse, Employee of Hua Seng Heng
Mattaya Suyasunanon,HR Consultant
Meenamett Sirisuk,Artist
Miranti Borvornsin,Food Blogger,Food Influencer
Montika Boriboon, Researcher
Munchusa Watanaporn,Writer,Former Advisor Editor BaanLaeSuan Magazine
Napaporn Thongma,Nurse
Narisa Photidej,Housewife
Narodom Kamenketwit,Artist
Naruemon Sae Tae,Self Employed
Narumon Mitsang,Sales Manager Printing.Ltd
Natchaleeya Sutthiprasit,Designer
Natnicha Nattanakorn,Art Teacher
Nattalert Supatakanit,Sculptor
Nattamon Selakun,Bussiness Owner
Nattawut Yongpruksa, Ph.D., Scientist
Natthakan Taerajit,Freelance Artist
Natthapong Chanyoo, Faculty Member, Faculty of Liberal Arts, Mahidol University
Nirachorn Kuchonthara,BCOP,BCNSP,Thai BCP,Clinical Pharmacist and Educator,Bumrungrad International Hospital
Niran Krairiksh,Ex-Lecturer,Faculty of Decorative Arts,Silpakorn University
Niroj Jarungjitvittawat,Artist,Art Lecturer,Poh-Chang Academy of Art
Nisarat Sitasuwan, Writer
Nitawat Changchai, Director
Nitikorn Kraivixien,Artist,Professional Photographer
Nitipat Bhandhumachinda, Aquarium Fish exporter
Niwat Kongpien, Writer
Nongnuch Laicharoenwat,Housewife
Nonzee Nimitbutr,Thai Film Director
Nopadon Chotasiri, Artist
Noppadole Pollasilp,Freelance Writer,Movie&Music Critic
Nopparat Chantramitr,Freelance Artist
Noppera Bosri,Visualizer,Artist
Nopporn Charatsri, Landscape Architect
Norasate Mudkong, D.J.
Numthong Thongyai Na Ayudhaya, Film Director, Phenomena
Nutchanat Invert,Graphic Designer
Nuttakarn Therajit, Artist
Nuttana Chaipatkorn, Interior Designer and Owner of Interior Wizard co, Ltd.
Nuttaporn Muchjimworng,Banker
Ochana Poonthongdeewatthana,Lecturer,Silpakorn University
Ongart Cheamcharoenpornkul,Artist
Ong-art Sukramani
Opas Chotiphantawanon,Artist
Oranee Na Nagara, General Manager Studio de Nagara Ltd.
Orawan Khaengpenkhae,Bussiness Owner
Pairoj Teeraprapa, Silpathorn Aritst 2014 (Graphic Design)
Pairoj Wangbon, Artist
Paitoon Chongthong, Artist
Pakakul Snidvongs, Lecturer
Pakkaporn Maison,Coordinator
Pakkavee Kongthong, Medical Technologist, Hatyai Hospital
Pakorn Klomklieng,Freelance Curator
Pakornpat Chatakaisorn,Artist,Lecturer
Palida Wichaisutthigul, Housewife
Palut Marod, Artist
Pananual Lertmaithai
Pancha Soonthornrote,Business Owner
Panchit Phruksangkul,Bussiness Owner
Panich Phupratana, Artist
Panicha Pongpat,MD
Pannaphan Yodmanee,Artist
Pansa Sunavee,Artist,Photographer
Pantila Pattamavanitch, Administraive Chief, CAT Telecom
Panumas Tasila,Art Director
Parada Kantapattanakul, Self-employed
Parames Rachjaibun, Chairman and CEO, Turnaround Focus Co., Ltd.
Paranee Jethsomma, Managing Director Sunshine Etcetera Co., Ltd.
Parichat Pilaipongse, Translator
Parit Wongphaet,M.D.
Parkob Suntavakil,Employee
Pasit Kanasirichainon, Self- Employed
Passorn Nanthawaree,Senior Museum Creative and Copy Writer
Patamavalai Ratanapoom, Life Coach
Patariya Ngammuk, Ph. D. Assistant Dean, Bangkok University International College
Patiwat Tui-on,Architect
Patrawan Palakawongs Na Ayudhya
Pattanun Iamsa-ard,Freelance Artist
Pawanrat Naksuriya,Director-Actor
Paweena Uanomjitkul,Lecturer,Silpakorn University
Peerapong Daungkeow,Artist
Peeraya Kosumditsaphon,Sales Presentative
Pensiri Sawaitviharee, Housewife
Permsak Siwayabrahm,Architect
Phacharin Sommai,Business Owner
Phansa Buddharaksa, Artist
Pha-oon Chantarasiri,Director-Actor
Phasook Thepmani,Retired
Phatchravut Patsoongnern,Carpenter
Phatwut Chorphaka,Physical Therapist
Piangkhwuan Kumrune,Business Owner,Artist
Pichet Kitcharoenka,Studio Manager
Pichet Meevongpan,Architect
Pijak Hinjiranan,Architect
Pim Yingwong, Manager at Pim Group Ltd.
Pimonmas Rattchada, Air Purser, Thai Airways International PCL.
Pimpaween Sunthontammarat,Executive Curator,Gallery Director,Art Blogger,Art Columnist
Pinya Jaimeetam,Artist
Pitchaphong Prasong,Freelance Artist
Piyathida Kasemsri, Graphic Designer
Plub Boonsuan,Artist,Curator
Pongpaiboon Siddhigu, Film Director, The Film Factory Ltd.
Pongphawan Asitirat,Artist
Pongpipat Vigrantanoros, Creative Director
Pongprom Snitwong na Ayuthaya, Artist, Musician, Composer, Humming House Ltd., Lecturer Silpakorn University
Pongsiri Kiddee,Artist,Lecturer
Ponkamol Akkararungsakul Philipsen,Managing Director Oriental Spirit Denmark
Ponpen Lertchaipattanakul, Thail-Chinese Translator
Pornnarin Sribuoroe,Production Designer
Pornpraseart Yamazaki,Artist
Pornsawan Nonthapha, Artist
Prachaya Ladachati, Artist
Praipot Chunlawong,Freelance Artist
Prakairung Puengpanwuth,Grapic Designer
Pranot Keawbucha,Master of Music Program Faculty of Humanities and Social Scienes Kanchanaburi Rajabhat University
Praphan Sakdasak,Architect
Praptpadol Suwanbang,Actor,Artist
Prasert Punsomrong,Artist
Prasert Treepundhupitak,Freelance Artist
Prasit Wichaya, Artist
Pratai Sangrakaite,Business Owner
Pravina Ratyantarakor, Managing Director, White Kitchen Company Limited
Prayuth Chumphol,Employee
Pree Jindarjoana, Ceramic Designer at Nerb Shop
Preecha Tayeb,Architect
Preeyanit Thanakornkittiyothin, Accounting Manager, Thai Satori Co., Ltd.
Premjai Vungsiriphisal, Senior Researcher
Pridtee Suttabusaya,Thailand PGA Golf Coach
Prof. Thavorn Ko-udomvit, Vice President for Art and Culture, Silpakorn University, Director of ARDEL Gallery of Modern Art
Prof.Dr.Santi Leksukhum,Art History Specialist,Art History Lecturer,Faculty of Archeology,Silpakorn University
Punnapa Onsarn,Bussiness Owner
Punyawee Chomchuenjitsin, Artist
Rajit Saeng xuto, Film Director
Rapeepun Sudharomna, New Business & Strategic Planning Director
Ratana Chavananand,Bussiness Owner
Ratana Thienlikit, Engineer
Ratchada Kattiya,Bussiness Owner
Ratnakorn Kiatpayathai,Boxer
Rattana Salee, Artist
Rattapoom Piwpantamit
Raveewat Panchuy,Art Instructor
Rawewan Prakobpol,Business Owner
Reed Boonnao, Freelance
Reungrit Sawasdee,Lawer
Reungsak Pudghavaro,Artist,Art Lecturer
Rit Prompichan, Farmer
Ronnachai Kitisaksin,Artist
Ruenrit Sawasdee,Lawyer
Rutthapat Traipipopphakee,Bussiness Owner
Saipin Thurahan, Business Owner
Sakchai Uthitho, Artist
Sakwut Wisesmanee, Artist
Salinee Hanvareevongsilp, Writer
Samran Mompagul, Lecturer, Chiang Mai University
Santi Thongsuk,Artist
Santisuk Laungsanam,Artist,Lecturer
Sapisara Khemthong, Art Theorist
Saraawud Siritham,Student
Sarand Chaiyasutra,Artist
Sarasatre Romyanon,Producer
Sarayut Phoungsujarit,Online Marketing
Sarunpong Mongkolsilpa,Sales Executive
Sasithorn Hanpanich, Entrepreneur
Sasiwimol Sujit, Artist
Satthacharkon Racha-apai, Assistant Training Manager, Manulife Life Assurance PCL.
Shinnawat Saengungsumalee, Studentof Faculty of Pharmacy Rangsit University
Siam Wichaipruek,Architect
Sikha Thitaradis,Model,Artist
Sinjai Plengpanich, Actor
Sippapas Thienmee,Designer
Sirianong Namwongprom, MD.PhD Associate Professor, Department of Radiology, Faculty of Medicine, Chiangmai University
Sirichai Rianjareon, Furniture Designer
Sirikan Punnachet,Housewife
Sirikul Tangkavarut, Bank Employees, Krung Thai Bank Public Company Ltd.
Sithichoke Nuamcharoen, Artist
Sithikorn Thepsuwan, Artist and Lecturer
Sithiporn Ritthinumporn,Architect
Siti Bunyapana, Restaurant Owner and Chef
Sittikorn Tapsuwan,Art Lecturer,Songklanakarin University,Pattani
Sivilai Somsong, Radio Presenter
Somboon Piriyapakdeekul, Dop/Big Eye Co., Ltd.
Somchai Napatsuthon,Graphic Designer
Somkiat Wijitpalakat,,Artist,Lecturer
Somphob Sanggerd, Freelance Film Director
Sompop Budtarat,Artist
Somsak Kitmungsa, Medical Doctor
Somsak Sansukjareonpol, Artist
Songchai Buachum, Artist
Songpot Saisueb,Architect
Songvut Kositarut, Lecturer-Prince of Songkla University International Collete, Adobe Certified Instructor
Songyote Waeohongsa,Former Lecturer
Sorarat Jirabovornwisut, Self-employed
Soraya Weesakul, Printing Director, PEA
Sresuda Wongwiseskul,Lecturer,Faculty of Nursing,Suandusit University
Sriwan Janehattakan,Artist,Art instructor
Sruiurai Prijasilpa Scarratt, Retired
Suchera Nimitraporn, House Wife
Suddhiman Pokachaiyapat, Housewife
Sudlah Prichanon, Physician
Sunakorn Niyomyam,Business Owner
Sunan Singthong, Dentist
Sunpat Charoensiraroj, Account Managemnet Delphys Hakuhodo
Supakit Ngarmpakbund, Manager Assistant Nissan Transport Co.
Supalagsana Sontichai, Reitired Government Officer, Customs Department and Author-Translator
Supaporn Chaidee,Villa Host
Supaporn Pattamasophon, Artist
Suparee Boonyoung, Tourist Guide
Supatra Boonpanyarote, Ph.D. Lecturer, Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University
Supawat Watthanapikowit, Artist,Lecturer
Supharsit Vongromngen,Artist
Suppathida Thammahol, Artist
Surachai Chomchuenjit, Lecturer
Surachet Thongme, Director of Photography
Suradecht Wathanapraditchai, Artist
Suraporn Lertwongpaitoon,Artist
Suriya Chayacharoen,Lectuer,Artist
Surussavadi Chuarchart, Film Director
Suthipong Worakeowmueng,Artist
Suttada Achirakumpu,Magazine Projects
Suwanna Somsawasdi,Employee
Suwatchai Changsang,Artist
Suwit Maprajuab,Artist
Tana Phothong,Artist
Tanadol Derujicharoen, Artist
Tanakorn Sararak, Artist
Tanit Peanmaneewong, Artist
Tanong Pakkru,Architect
Tanyaluk Pipatkasira,Sales Promotion Manager
Tarinee Kanchanawaong, Managing Director, Fierce Co., Ltd.
Tayawat Trakulthong, Farmer
Techa Tabthong, Activist-Social Worker
Teera Chuvichayanont,Business Owner
Teerapat Pringsulaka
Teerapong Pitaksaringkarn,Art Instuctor,Ratchabhat Leoi University
Teeraporn Pinsuwan,Artist
Teerasak Lertlikitwinai,Artist Lecturer
Tepdanai Wedklang,Architect
Thamrongrat Boonparyol, Photographer
Thanakorn Boonlue, Artist
Thanaporn Thidiseree, Official at Provincial Electricity Authority
Thanasap Tribunyatikul,General Manager
Thanatas Kamsant,Bussiness Owner
Thanatip Jirawanicharoen,Artist
Thanchanok Kaewta, Account Executive Informatix Plus Co., Ltd.
Thanwa Huangsamut,Freelance Artist
Tharathorn Koonchanok,Consultant
Tharrinee Snidvongs, Interior Designer, Lecturer
Thassina Boonsuan,Art School Owner
Thawaratt Samakchantor, Artist
Thayakorn Thongjua,Bussiness Owner
Thep Pilan Phongparnich,Record Producer,Band Manager
Thepprasit Ruttanarueangchot,Artist
Thienprasit Chaiyapatranun, Executive Director of Grand Diamond Suites Hotel
Thippawan Krutbangyang,Art Teacher
Thitima Bundhumasuta,Freelance Photographer
Thitiwat Sripichayasak,Artist
Thongchai Seenuannonsakul,Manufacturing Manager
Thongchai Srisukprasert, Artist,Art Instuctor, Silpakorn University
Thunwa Huangsamoot, Artist
Tiamjai Komkris, Retired Professor
Tipanan Nakata,Sales Manager
Tipawan Oungkiros, Business Owner
Torroong Jarungidanan,Publisher,Instructor
Trissawan Parnpob, Employee
Tul Hirunyalawan, Lecturer, Faculty of Art and Design, Rangsit University
Udom Torrarit,Artist,Graphic Designer
Udom Udomsrianan, Artist, Designer
Ukaew Sanasen, Artist
Uraiwan Pongtanuwat, General Service Officer
Usanee Zenlee,Sales
Uthaiwan Vichachang, House Wife
Ut-sa Waiyasrisaeng, Artist
Vanich Sooksiri, Film Director
Vanut Angsuwan,Artist,Lecturer
Vasan Sittjiket, Artist
Veerawat Khumrim,Artist
Veravit Malikul,Interior Designer
Vilailak Udomsrianan, Creative Director
Viroj Jongpaiboonkij,Interior Designer
Viruch Rugvong,Bussiness Owner
Visanu Paisanfuengfoong,Artist
Vitidnan Rojanapanich,Producer
Vorawut Klongtaew, Sales Executive CVS Design & Advertising Co., Ltd.
Wacharipon Pattanatonya,Design Director,Fashion Buyer
Waigoon Stapanavatr Assistant Dean,Faculty of Medicine,Navamindharadhiraj University
Wanna Nawigamune, Member of the Board of the Faculty of Humanities, Kasetsart University
Wannaphon Chimbanchong,Artist,Gallerist
Wannasan Danraj,Freelance Artist
Wannee Komarakul Na Nagara, Managing Director, Dentsu Thailand
Wanwipa Malikul,Marketing Director
Waraporn Puangthai,Editor
Warongrong Tungkham, Marketing Director, Asiatic Agro Industry, Co., Ltd.
Wasan Danraj, Artist
Wasan Peungprasert,Professional Photographer
Wasant Yod-im,Lecturer,Rangsit University
Wasanti Petchkul,Artist
Wasinburee Supanichvoraparch, Silpathorn Artist (Ceramics)
Watana Kreethong, Artist
Wathin Chatkoon,Faculty of Philosophy and Religious,Srinakharinwirot University
Wattana Kruangpech,Art Student
Wesaratt Sangkawanitt, Copy Writer
Wichai Chavengvorakul,Bussiness Owner
Wichai Yothawong,Art Lecturer,Digital Media Department,SriPratum University
Wilai Jiraittiwanna, Business Owner
Wimol Rattanakittiaporn, Self-employed
Wirawoot Boonnuerng, Artist
Witsanu Paisarnfeungfung,Freelance Artist
Wongsapat Sirikojakorn,Sales Used Car Engine&Parts
Worakorn Thamrongthat, Artist
Woranood Wooti-utadom, Employee
Worasak Wongwichit,Business Owner
Worawit Keawsrinoum, Artist
Yanis Tipakorn, Employee
กรณีงานศิลปะสุธี-หอศิลป์กวางจูแสดงความเสียใจไม่ได้ศึกษาการเมืองไทยเพียงพอ
หอศิลป์เมืองกวางจูและภัณฑารักษ์เสียใจที่เกิดข้อขัดแย้งในงานศิลปะ ‘มวลมหาประชาชน’ ของสุธี คุณาวิชยานนท์ และเสียใจที่ไม่มีความสามารถพอที่จะศึกษาการเมืองไทย โดยหอศิลป์จะจัดการบรรยายสาธารณะเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะและการเมืองในประเทศไทย และยินดีเผยแพร่เอกสารของกลุ่มหนุน-ค้านการแสดงงานของสุธี และจะรวบรวมเอกสารทั้งหมดในหอจดหมายเหตุเพื่อให้สาธารณชนสามารถใช้ศึกษาต่อไป
ส่วนหนึ่งของผลงานที่สุธี คุณาวิชยานนท์ จัดแสดงในนิทรรศการศิลปะ The truth To turn it over ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่าง 10 พฤษภาคม - 15 สิงหาคม 2559 (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพโดย "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม")
ศิลปินนิรนามกลุ่ม Guerrilla Boys โพสต์ภาพอยู่เบื้องหน้าผลงาน "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ผลงานศิลปะของสุธี คุณาวิชยานนท์ เมื่อ 25 พฤษภาคม 2559 โดยศิลปินนิรนามผู้สวมหน้ากากกอริลลายังถือกระดาษเขียนข้อความว่า "This work still waiting 'Junta' create democracy for them!!!"หรือ "ผลงานนี้ยังคงรอ 'รัฐบาลทหาร'เนรมิตประชาธิปไตยให้พวกเขา"และลงชื่อ Guerrilllaboys ท้ายข้อความ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
13 มิ.ย. 2559 กรณีที่ สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเชิญผลงานศิลปะชุด The truth To turn it over ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) นั้น
อย่างไรก็ตาม มีผลงานส่วนหนึ่งของสุธีในชุด "มวลมหาประชาชน/Thai Uprising"เป็นงานในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ทำให้ “กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” หรือ กวป. ทำจดหมายเปิดผนึกทักท้วงไปยังภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ โดยระบุว่าผลงานดังกล่าวของสุธีมีข้อเท็จจริงตรงข้ามกับจิตวิญาณการต่อสู้ของชาวกวางจู อีกทั้งยังมีสมาชิก กวป. แถลงว่า เป็นงานศิลปะของศิลปินที่สนับสนุน กปปส. และกลายเป็นส่วนหนึ่งของการล้มกระบวนการประชาธิปไตย
ล่าสุดมีจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ถึงผู้ที่เคยร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกชี้แจงความคืบหน้าของการตอบสนองจากภัณฑารักษ์ และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู มีรายละเอียดดังนี้
000
จดหมายเปิดผนึกถึงผู้ร่วมลงชื่อ กวป.
ในนามของผู้ประสานงานนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ขอแจ้งความคืบหน้าของการตอบสนองของภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ต่อการทักท้วงและข้อเรียกร้องของ กวป. ดังนี้
ประการแรก ภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูได้สนองต่อข้อเรียกร้องของ กวป. และการเรียกร้องจากกลุ่มต่างๆ ในหลายประการด้วยกัน
1. สำหรับข้อเรียกร้องจาก กวป. ให้ภัณฑารักษ์ชี้แจงกระบวนการคัดเลือกผลงาน ภัณฑารักษ์ได้ชี้แจงว่า “ด้วยเพราะไม่มีความรู้เพียงพอ เมื่อปีที่แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูจึงได้ขอคำปรึกษาจากผู้ดูแลแกลอรี่ในกรุงโซลที่เชี่ยวชาญศิลปินเอเชียนให้แนะนำเกี่ยวกับผลงานของศิลปินที่ทำงานในประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ทางพิพิธภัณฑ์สนใจงาน “ห้องเรียนประวัติศาสตร์” (History Class) ของ รศ. สุธี โดยเฉพาะในแง่ที่เป็นผลงานเชิงความสัมพันธ์ (relational) ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับผลงานได้ด้วย พร้อมทั้งสนใจผลงานของศิลปินคนอื่นๆ ซึ่งทางผู้ดูแลแกลอรี่ดังกล่าวแนะนำมา ทางพิพิธภัณฑ์จึงเชิญ รศ. สุธีไปสัมมนาที่พิพิธภัณฑ์เมื่อปีที่แล้ว และจึงยินดีที่จะเชิญ รศ. สุธี ไปร่วมแสดงงานในนิทรรศการที่แสดงอยู่ขณะนี้ ดังที่เขาได้เคยชี้แจงมาก่อนหน้านี้แล้ว”
(Lacking information of its own, the Gwangju Museum of Art asked a gallerist in Seoul, who is knowledgeable on Asian artists, last year for recommendations of artists who work with historical themes. The museum was interested in Mr. Kunavichayanont’s History Class, in particular how it is relational (how it invites audience participation), among the works by different artists presented to us by the gallerist. We therefore invited Mr. Kunavichayanont to a seminar at our museum last year, and we thus became comfortable inviting Mr. Kunavichayanont to exhibit in our current exhibition, as we have previously explained to you.)
ทางพิพิธภัณฑ์และภัณฑารักษ์ยังได้กล่าวแสดงความเสียใจว่า “ไม่ว่าจะด้วยประการใด พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจที่ได้เกิดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการร่วมแสดงงานของ รศ. สุธี นี้ขึ้นมา และเสียใจที่ทางเราไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะศึกษาถึงการเมืองไทยและความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับการเมืองในการจัดแสดงผลงานครั้งนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นิทรรศการนี้เป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ “18 พฤษภา” (May 18th)”
(In any event, the Gwangju Museum of Art and I regret that the current controversy has arisen regarding Mr. Kunavichayanont’s participation in our exhibit, and that we were unable to examine Thailand’s political situation and art’s relationship to politics for our current exhibition, particularly given that the exhibition commemorates May 18th.)
ในจดหมายตอบฉบับก่อนหน้า (ซึ่งเขาได้บอกกล่าวกับสื่อมวลชนด้วย) ภัณฑารักษ์ยังอธิบายว่า ในกระบวนการคัดเลือกงาน เขาไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และบริบททางการเมืองของผลงาน รศ. สุธี ชุดนี้ดีพอ หากแต่เลือกผลงานเพียงเพราะมีรูปแบบการแสดงออกที่คล้ายคลึงกับที่ประชาชนกวางจูใช้ในการต่อต้านเผด็จการในเหตุการณ์ “18 พฤษภา” เท่านั้น
2. ภัณฑารักษ์แจ้งว่า พิพิธภัณฑ์ได้ติดตั้งข้อความว่า “ขณะที่มีคนมองว่าการเดินขบวนประท้วงในปี 2556-2557 นั้นเป็นการต่อต้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมและการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หากแต่มีอีกฝ่ายมองว่า การประท้วงนั้นเป็นการปูทางไปสู่การรัฐประหารของกองทัพ” (While some view the 2013-2014 Bangkok protests as having been in opposition to the Yingluck administration’s amnesty bill and corruption, others feel the protests paved the way for a military coup.) ในทันทีที่ผลงาน Thai Uprising ถูกตั้งคำถามทักท้วง และตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วพิพิภัณฑ์ยังได้แสดงข้อความอธิบายกระบวนการคัดเลือกผลงานมาจัดแสดง พร้อมทั้งแสดงจดหมายของ กวป. ฉบับแรก แสดงจดหมายอธิบายจุดยืนจาก รศ. สุธี และจดหมายจากผู้สนับสนุน รศ. สุธี ไว้ในงานแสดงผลงาน
3. กวป. ยืนยันในหลักการเสรีภาพของการแสดงออกและเคารพในความคิดเห็นของศิลปิน จึงไม่ได้เรียกร้องให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูต้องถอดผลงานแต่อย่างใด (ตั้งแต่จดหมายฉบับแรกที่ส่งไป) หากแต่ ภัณฑารักษ์แจ้งว่า มีข้อเรียกร้องจากกลุ่มในเกาหลีเองให้ถอดถอนผลงาน Thai Uprising ของ รศ. สุธี ทว่าเนื่องจากตามข้อตกลง การถอดถอนผลงานต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงาน ซึ่ง รศ. สุธี ได้ปฏิเสธการถอดถอนผลงาน ทางภัณฑารักษ์จึงแจ้งว่าไม่สามารถถอดถอนผลงานตามข้อเรียกร้องของกลุ่มในเกาหลีได้
ประการที่สอง ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและภัณฑารักษ์ได้เชิญ ดร. ธนาวิ โชติประดิษฐและผู้ประสานงาน กวป. อีกหนึ่งคน ไปบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะและการเมืองในประเทศไทย ทาง กวป. ตอบรับคำเชิญ การบรรยายนี้จะเป็นบรรยายสาธารณะ และทางพิพิธภัณฑ์จะจัดทำเอกสารประกอบการบรรยายจากคำบรรยายของตัวแทน กวป. เพื่อเผยแพร่ต่อไป
ประการที่สาม ทาง กวป. เรียกร้องเพิ่มเติมว่า ขอให้พิพิธภัณฑ์เผยแพร่จดหมายเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ต่อสาธารณชน และขอให้พิพิธภัณฑ์ยืนยันว่าจะเก็บรวบรวมจดหมายและเอกสารเหล่านี้ไว้ในหอจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงสำหรับการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้ได้ต่อไป
หากมีความคืบหน้าประการใดต่อไป คณะผู้ประสานงานจะรายงานให้ทุกท่านทราบเพิ่มเติม พร้อมกันนี้ เนื่องจากข่าวคราวของการทักท้วงนี้กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่แวดวงศิลปะและผู้สนใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดตามอย่างกว้างขวาง จึงขอแนบรายงานข่าวของสื่อมวลชนต่างประเทศมาท้ายกับจดหมายนี้ด้วย
ด้วยความนับถือ
ผู้ประสานงาน กวป.
000
อนึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 พ.ค. คณะศิลปินในนาม “กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"นำโดยสุธี คุณาวิชยานนท์, จรูญ อังศวานนท์ จุมพล อภิสุข, มานิต ศรีวานิชภูมิ, ไพโรจย์ ศรีประภา อภิศักดิ์ สนจด ฯลฯ จัดแถลงข่าวในเรื่อง "บทบาทและจุดยืนของศิลปินที่มีจิตสำนึกสาธารณะ” ต่อกรณีที่ที่ กวป. ทำจดหมายประท้วงการแสดงผลงานของสุธีดังกล่าว
โดย "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"ได้เผยแพร่จดหมายถึงสื่อมวลชนในประเทศไทย และส่งจดหมายเปิดผนึกถึง จอง-ยัง ลิม ลงฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 และมีผู้ร่วมลงนามข้างท้ายเป็นจำนวน 512 คน โดยมีเนื้อหาว่า สุธีและเพื่อศิลปินภายใต้กลุ่ม Art Lane ได้ทำกิจกรรมระดมทุนและให้เงินสนับสนุนกลุ่ม กปปส. เพราะทุกคนมีแนวคิดและเป้าหมายที่ตรงกัน นั่นคือการคัดค้านกฏหมายนิรโทษกรรม และการคอรัปชั่นของรัฐบาลในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการจำนำข้าว การร่วมชุมนุมของสุธีและกลุ่มไม่ได้มีเจตนาที่จะปูทาง หรือสนับสนุนให้มีการรัฐประหารแต่อย่างใด ผลงานชุดดังกล่าวของสุธีนั้นได้แสดงถึงเสรีภาพในการทำงานของศิลปินตามแนวทางของประชาธิปไตย ซึ่งมีความสอดคล้องกับนิทรรศการที่จัดขึ้น ศิลปินทุกคนควรมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็น อีกทั้งยังกล่าวว่า ลิม จองยัง ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่สมควรทำตามกระแสกดดันจาก กวป. และเครือข่าย
ขณะที่สุธี ซึ่งร่วมแถลงข่าวด้วยกล่าวยืนยันไม่สนับสนุนรัฐประหาร และเขาเชื่อเรื่องเสรีภาพการทำงาน ไม่ขัดข้องหากพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูจะติดจดหมาย กวป. คู่ผลงาน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
กรณ์ จาติกวณิช
ปราชญ์ ปัญจคุณาธร
#seebkk13 เกาะติด "ปิดกรุงเทพฯ" #shutdownbkk #กปปส 13 ม.ค.
ร่วมใช้สัญลักษณ์ hashtag #seebkk13กับภาพการชุมนุม "ปิดกรุงเทพฯ"
#seebkk13
พร้อมคำบรรยายภาพ ในจุดที่ท่านอยู่ ในมุมที่ท่านเห็น เพื่อร่วมสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของมวลมหาประชาชน กปปส.
ไม่ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ในฐานะเจ้าของบ้านคนหนึ่ง เจ้าของประเทศคนหนึ่ง และเพื่อมีส่วนร่วมในการทำ "ประมวลภาพปิดกรุงเทพฯ"ลงเว็บประชาไท
ติดตามความเคลื่อนไหว #seebkk13ได้ที่ Facebook, Twitterและ Instagram
ShortURL: http://goo.gl/zFhTWm
อภิสิทธิ์เปิดตัวหนังสือ "เพราะหัวใจมอบให้แผ่นดิน"ผลงานจักษ์ พันธ์ชูเพชร
จักษ์ พันธ์ชูเพชร อาจารย์ดัง ม.นเรศวร เปิดตัวหนังสือบันทึกการต่อสู้ กปปส. "เพราะหัวใจมอบให้แผ่นดิน"โดยมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ร่วมเปิดตัวหนังสือ
(ที่มาของภาพ: เพจ Abhisit Vejjajiva)
25 ม.ค. 2558 - เมื่อวานนี้ (24 ม.ค.) ที่ห้องพุทธคยา ตึกอัมรินทร์พลาซ่า แยกราชประสงค์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมงานเปิดตัวหนังสือ "เพราะหัวใจมอบให้แผ่นดิน"ผลงานของจักษ์ พันธ์ชูเพชร รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ปราศรัยคนสำคัญในการชุมนุมของ กปปส. เมื่อปลายปี 2556 - พฤษภาคม 2557
ทั้งนี้ สรยุทธ สุทัศนะจินดา เคยตั้งฉายาให้ว่า "จักษ์ 5 ปริญญา"เนื่องจากจบปริญญาด้าน นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับบทนำในปกหลังของหนังสือ "จักษ์ พันธ์ชูเพชร"เขียนไว้ว่า "หนังสือเล่มนี้ อาจเป็นเพียงบันทึกเรื่องราวเล็กๆ ในสายตาบางคน อาจเป็นเพียงเรื่องเล่าที่ไร้ความหมาย ในสายตาบางคน หรืออาจเป็นเพียงตัวหนังสือที่ถูกจัดเรียง ในสายตาบางคน หากคนเหล่านั้นไม่ได้รับรู้ถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่ในการต่อสู้""แต่หนังสือเล่มนี้ จะเป็นบันทึกที่ทรงคุณค่า ในสายตาบางคน จะเป็นเรื่องราวที่ควรต้องจดจำ ในสายตาบางคน และจะเป็นตัวหนังสือที่แสดงให้เห็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ในสายตาบางคน หากคนเหล่านั้นคือบุคคลที่ร่วมต่อสู้ และสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกัน เพราะหัวใจ ... (เรา)มอบให้แผ่นดิน"
ในงานดังกล่าวนอกจากอภิสิทธิ์แล้ว ยังมีผู้สนับสนุนของจักษ์ จำนวนมาก รวมทั้งแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เช่น จุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส. พื้นที่ จ.พิษณุโลก ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และพิธีกรรายการสายล่อฟ้า ร่วมแสดงความยินดีในงานเปิดตัวหนังสือผลงานของจักษ์ ด้วย
ทั้งนี้ จักษ์ เจ้าของวาทะ "ล่อเพื่อชาติ"ในการปราศรัยบนเวที กปปส. เมื่อเดือนธันวาคมปี 2556 เคยอภิปรายกับ สมบัติ บุญงามอนงค์ เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2557 ในรายการ "สรยุทธเจาะข่าวเด่น"ดำเนินรายการโดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 กรณีชุมนุมใหญ่ "ชัตดาวน์กรุงเทพฯ"ของ กปปส. ที่เริ่มขึ้นในวันที่ 13 ม.ค. 2557 โดยในครั้งนั้นเขายืนยันแนวทางปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง โดยกล่าวด้วยว่า "ยอมให้เราปฏิรูปสิครับ แล้วจะทำให้ดู"
นอกจากนี้ยังยืนยันว่า กปปส. ต้องจัดการชุมนุมปิดกรุงเทพฯ โดยไม่มีทางเลือกอื่น เพื่อให้รัฐบาลยอมลาออก และชี้แจงว่าไม่ได้เป็นการไล่คนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพียงแต่แนะนำให้ไปพักผ่อน "วันที่ชัตดาวน์คนที่ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการนี้แล้วอยู่ลำบาก ก็ไปพักผ่อนข้างนอก ลักษณะแบบนี้ อยากให้ไปฟังคำพูดนี้ชัดๆ ไม่ใช่เปลี่ยนคำพูดว่าจาก 'บอกให้ออกไป'กับคำว่า 'ไล่'คนละประเด็น"จักษ์กล่าวชี้แจงในรายการ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ประท้วงหอศิลป์เกาหลีใต้จัดแสดงศิลปะ กปปส. เพื่อรำลึก 36 ปีสลายชุมนุมกวางจู
บุคคลหลายวงการในไทยเขียนจดหมายเปิดผนึกเพื่อทักท้วงภัณฑารักษ์เกาหลีใต้ กรณีนำผลงานของศิลปินยุค กปปส. ปิดกรุงเทพฯ ไปจัดแสดงเพื่อรำลึก 36 ปีเหตุสลายการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยกวางจูปี 1980 ด้านภัณฑารักษ์เกาหลีใต้ยอมรับนำผลงานมาแสดงเพราะนึกว่าเหมือนศิลปะเกาหลียุค 80 โดยไม่ได้คำนึงนัยยะทางการเมือง เผยถูกท้วงติงหนักจากหลายฝ่าย เตรียมนำไปหารือว่าจะถอนผลงานแสดงหรือไม่
โปสเตอร์งาน 'The Truth_ to Turn It Over' (ที่มา: Artmuse.gwangju.go.kr)
สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด 'Thai Uprising'ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)
16 พ.ค. 2559 กรณีพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู เชิญสุธี คุณาวิชยานนท์ ร่วมแสดงผลงานศิลปะในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over'(อ่านรายละเอียด)ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการมีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจะจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยนอกจากผลงานของสุธี ยังมีผลงานของศิลปินอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ปักแทคู จากเกาหลีใต้ มันกู ปุตรา จากอินโดนีเซีย เลองอกทันและเลอดุกไฮ จากเวียดนาม และเรอนาโท หาบูลาน จากฟิลิปปินส์นั้น
อย่างไรก็ตาม มีกระแสวิจารณ์ในประเทศไทย เนื่องจากมองว่าผลงานแสดงของสุธีบางส่วน เป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านประชาธิปไตยและปูทางไปสู่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
สำหรับผลงานแสดงของสุธี ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ส่วนแรก คือ "กระดานดำกวางจู"โดยนำมาจากผลงานชุด "ห้องเรียนประวัติศาสตร์ภาค 2"ที่สุธีเคยจัดแสดงผลงานดังกล่าวมาก่อน เมื่อ พ.ศ. 2556 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นภาพแกะสลักบนโต๊ะนักเรียนที่ทำจากไม้ 23 ตัว แสดงเหตุการณ์ 23 แห่ง โดยในการแสดงที่กวางจู สุธีได้เลือกโต๊ะไปทำการแสดง 6 ตัว นอกจากนี้เขายังร่วมกับศิลปินเกาหลีใต้ วาดภาพบนกระดานดำร่วมกันโดยด้านหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และอีกด้านการเหตุการณ์กวางจูเดือนพฤษภาคม 2523
"ผลงาน "กระดานดำกวางจู"ผมต้อง "เลือกจำ"คัดตัดตอนมาเฉพาะประวัติศาสตร์ 1 หน้าในความทรงจำทางการเมืองไทย 14 ตุลา 16 เบลอปะปนไปกับ 18 พฤษภาคม 1980 โศกนาฏกรรมทางการเมืองของเกาหลีใต้ที่เมืองกวางจู ที่มีทั้งความคล้ายและความต่างสองเรื่องสองเหตุการณ์ถูกเขียนแล้วลบแล้วเขียนอีก จนมันเบลอ เข้าหากันในกระดานแห่งความทรงจำเดียวกัน อีกชิ้นโต๊ะนักเรียนในห้องเรียนประวัติศาสตร์ ก็จำเป็นต้องถูก "เลือกจำ"เช่นกัน จากโต๊ะ 23 ตัว เกือบ 20 เหตุการณ์ คัดเหลือแค่ 6 ตัว ประมาณ 6 เหตุการณ์"สุธีระบุตอนหนึ่งในสเตตัสเฟซบุ๊คที่เขาพูดถึงผลงานแสดงศิลปะ
สำหรับผลงานศิลปะส่วนที่ถูกทักท้วง คือ "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"(อ่านรายละเอียด)ซึ่งเป็นผลงานศิลปะของสุธีระหว่างการชุมนุมต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการชุมนุม กปปส. ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง ปลายเดือนมกราคม 2557 โดยมีข้อความที่ปรากฏในโปสเตอร์เช่น "ปฏิรูปก่อน""ไทยอย่าเฉย""ยึดคืนประเทศไทย""อย่ากลับด้านประเทศไทย"โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีถูกนำมาประมูลเพื่อระดมทุนสำหรับการต่อสู้ในช่วงนั้นด้วย
ทั้งนี้ หลังวันเปิดแสดงผลงานศิลปะเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา บุคคลในวงการต่างๆ ในประเทศไทย ได้ส่งจดหมายทักท้วงไปยัง ลิม จงยอง ผู้ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ 'The Truth_to Turn It Over'
โดยเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ธนาวิ โชติประดิษฐ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนจดหมายเปิดผนึกไปยัง ลิม จงยอง เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขา
"เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรศการ 2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น"จดหมายของธนาวิตอนหนึ่งระบุ
ขณะเดียวกันในวันนี้ (16 พ.ค.) มีการเผยแพร่ จดหมายเปิดผนึกจาก "นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย" (กวป.) ถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู กรณีนำผลงานของ รศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ ไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’"โดยมีการลงชื่อท้ายจดหมายโดยบุคคล 118 ราย ประกอบด้วยศิลปิน ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียน สื่อมวลชน นักวิชาการ ฯลฯ ในไทย สอบถามไปยังพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู
"ระหว่างการชุมนุมประท้วงปิดเมืองกรุงเทพฯ ของ กปปส. สุธีและเพื่อนศิลปินได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนให้ขบวนการเคลื่อนไหว กปปส. แทนที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยและการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน ผลงานของเขาที่นำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูเป็นผลงานที่ทำขึ้นระหว่างร่วมชุมนุมกับ กปปส. อันนำพาความถดถอยของประชาธิปไตยไทย อาทิ โปสเตอร์ที่ใช้เทคนิคฉลุลาย เสื้อยืดสำหรับผู้สนับสนุน กปปส. และ อื่น ๆ ศิลปิน กปปส. ยึดถนนเพื่อปิดกั้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งก่อชนวนเปิดโอกาสให้ทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน และเปลี่ยนจากประเทศที่มีอนาคตที่สดใสทางประชาธิปไตย กลับกลายเป็นการควบคุมโดยสมบูรณ์จากชนชั้นสูงและปกครองโดยทหารตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557"
"แม้ว่ารัฐบาลเผด็จการของไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทย (หรือ UPR) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2559 อย่างไรก็ตามในวันเดียวกันนี้ ศิลปิน กปปส. ก็ได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนสำหรับการสร้างวิทยาลัยของพวก กปปส.ด้วยเช่นกัน นิทรรศการของสุธีไม่เพียงแต่เป็นการดูหมิ่นขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของไทยและ ประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตย แต่หมายรวมถึงจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ของชาวกวางจูเมื่อ 18 พฤษภาคม"
"พวกเราใคร่ขอถาม Jong Young Lim ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และคณะกรรมการของถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ พวกเราเชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู ด้วยความเคารพต่อหลักการดังกล่าวพวกเราใคร่ขอคำอธิบายหลักและเหตุผลในการคัดสรรศิลปินและผลงาน เพื่อความกระจ่างชัดต่อชาวไทยและชาวกวางจู"ตอนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุ
ภัณฑารักษ์เกาหลีใต้ยอมรับนำผลงานมาแสดงโดยไม่ได้คำนึงนัยยะทางการเมือง เตรียมนำไปหารือว่าจะถอนผลงานแสดงหรือไม่
ล่าสุดในเว็บ penseur21.com (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) Lee Yu Kyung ผู้สื่อข่าวชาวเกาหลีใต้ ได้โทรศัพท์สัมภาษณ์ ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าว โดยเขาย้ำว่าเขารู้สึกชื่นชมผลงานแนวสตรีทอาร์ทของสุธี ซึ่งมีเนื้อหาใกล้กับศิลปะแนวประชาชนของเกาหลีใต้ในยุคทศวรรษที่ 1980 โดยเขาให้พิจารณาเรื่องนี้โดยไม่ได้คำนึงในเรื่องนัยยะทางการเมือง
"ผมไม่ได้คาดหมายว่าจะมีปฏิกิริยาตอบกลับมาจากประเทศไทยขนาดนี้ เราได้รับคำท้วงติงมาจากบุคคลหลากหลาย ซึ่งส่วนหนึ่งถูกส่งมาจากมูลนิธิ 518 (มูลนิธิในเกาหลีใต้ซึ่งตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ต่อสู้ที่กวางจู) พวกเราจะมีการหารือกันถึงเรื่องนี้ พวกเราอาจพิจารณาที่จะถอนงาน 1 ใน 4 เรื่องของสุธี ซึ่งเรื่องหนึ่งเกี่ยวข้องกับการประท้วงของ กปปส. แต่เราต้องได้รับความยินยอมจากศิลปิน เราจะไม่ทำโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นความผิดพลาดของพวกเราร่วมกัน" ลิม จงยอง กล่าวเพิ่มเติม
36 ปีเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยกวางจู ก่อนนำตัวผู้บงการขึ้นศาลในปี 2539
สำหรับขบวนการประชาธิปไตยกวางจู หรือเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมต่อต้าน นายพลชุน ดูฮวาน ที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลชอย คูฮาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 โดยท้ายที่สุดทหารเกาหลีใต้สามารถยึดเมืองกวางจูคืนจากผู้ประท้วงได้ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 มีผู้เสียชีวิต 165 ราย สูญหาย 76 ราย บาดเจ็บสามพันห้าร้อยราย ขณะที่ทหารและตำรวจเสียชีวิต 13 ราย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ศาลอาญาประจำโซล มีคำตัดสินประหารชีวิตนายพลชุน ดูฮวาน จำเลยที่หนึ่ง และจำคุกนายพลโน แทอู จำเลยที่สอง 22 ปี 6 เดือน และจำคุกนายพลอื่นๆ อีก 13 คน
000
จดหมายเปิดผนึกของธนาวิ โชติประดิษฐ เมื่อ 12 พ.ค. 2559 (ฉบับแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
เรียน คุณลิมจงยอง
ข้าพเจ้าเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปินชาวไทยที่อยู่ในกรุงเทพฯ และผู้สังเกตการณ์ศิลปะร่วมสมัยของไทย ข้าพเจ้าเขียนจดหมายมายังท่านต่อเรื่องนิทรรศการ 'The Truth_To Turn It Over'โดยในการคัดเลือกผลงานของคุณ ที่ได้เลือกงาน 'Thai Uprising'ของสุธี คุณาวิชยานนท์ สำหรับจัดแสดงในนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการรำลึกถึง 36 ปี ของขบวนการประชาธิปไตย 18 พฤษภาคมนั้น วันนี้ได้ถูกวิจารณ์อย่างหนักในหมู่ผู้ใช้เฟซบุ๊คชาวไทย โดยจดหมายฉบับนี้ไม่ใช่จดหมายสำหรับศิลปิน แต่เป็นจดหมายถึงภัณฑารักษ์ผู้รวบรวมผลงานแสดง
อาร์ทเลน (Art Lane) เป็นส่วนหนึ่งของการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ไม่เพียงแค่เป็นการประท้วงกฎหมายนิรโทษกรรมสมัยยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในปี 2556 เท่านั้น แต่ยังเป็นการปูทางไปสู่การรัฐบาล ผลงานชุด "Thai uprising"ในปี 2556-2557 ที่คุณเลือก แสดงออกอย่างชัดเจนว่าคือการต่อต้านรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เคียงข้างไปกับศิลปินอื่นๆ ของมหาวิทยาศิลปากร และศิลปินที่แสดงผลงานทางการเมือง สุธีมีบทบาทอยู่ในขบวนการต่อต้านประชาธิปไตย พวกเขาระดมทุนเพื่อ กปปส. กลุ่มกดดันทางการเมืองที่นำโดยอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ สุเทพ เทือกสุบรรณ และเมื่อกองทัพยึดอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี 2557 ศิลปินเหล่านี้ก็ต้อนรับการรัฐประหารนี้
พวกเขาเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารนับตั้งแต่นั้น แน่นอนศิลปินทั้งหลาย ทั้งเขาและเธอมีสิทธิเลือกข้าง และแม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อจุดยืนทางการเมืองของสุธี ข้าพเจ้าก็เคารพเขาด้วยความจริงใจที่เขาพูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมาชัดเจน (ข้าพเจ้าตระหนักเป็นอย่างดีว่าสถานการณ์ของกลุ่มอื่นมีความต่างกัน ประเทศไทยไม่ได้มีพื้นที่เสรีและยุติธรรมพอสำหรับการพูดและการแสดงออก) เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ "2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace"จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่
ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น
ด้วยความนับถือ
ธนาวิ โชติประดิษฐ
จดหมายเปิดผนึกจาก “นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (กวป.) ถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู - กรณีนำผลงานของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ ไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’
สืบเนื่องจากที่ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ ศิลปินไทยได้ร่วมแสดงนิทรรศการชุด ‘The Truth_ to Turn It Over’ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู พวกเราขอแสดงความกังวลเกี่ยวเนื่องกับแนวทางศิลปะของเขา กับจุดยืนทางการเมือง และจิตวิญญาณการต่อสู้ของชาวกวางจู เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสุธีเข้าร่วมกับ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” (กปปส.) ซึ่งนำมาสู่วิกฤตทางการเมืองและรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 กปปส. เป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่มุ่งหมายโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีการปิดถนนหลายสายในกรุงเทพฯ ปิดสำนักงานของรัฐบาล รวมถึงปิดกั้นไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2557 กปปส. กล่าวหาว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวไทยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดที่ยากจนและไร้การศึกษา ดังนั้นคนเหล่านี้จึงถูกซื้อจากนักการเมืองได้ และพวกเขายังเชื่อว่าการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 เป็นเพียงการรักษาอำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เท่านั้น ในขณะที่ กปปส. ปฏิเสธการเจรจากับตัวแทนรัฐบาล แต่กลับเรียกร้องให้มีการตั้งรัฐบาลพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ด้วยวิธีการต่าง ๆ การกระทำของพวกเขานำมาซึ่งการเข้าแทรกแซงของทหาร ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่นั้นมา
กปปส. มองข้ามข้อเท็จจริงว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำ กปปส. เป็นอดีตรองนายกฯในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้สั่งการให้กองทัพสลายการชุมนุมของ “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) ซึ่งชุมนุมประท้วง ณ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2553 จนมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน ศาลไทยได้มีคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วว่าเจ้าหน้าที่ทหารไทยใช้อาวุธยิงประชาชน ขณะที่ผู้ชุมนุม นปช. ถูกคุมขังและพิพากษาว่าละเมิดกฎหมาย สุเทพและสมาชิกคณะรัฐมนตรียังคงลอยนวล เหลือไว้เพียงข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ได้มีเพียงผู้ชุมนุม นปช. เท่านั้นที่ถูกฆ่าและถูกขัง แต่ยังรวมถึงประชาชนธรรมดาที่ไม่มีแรงจูงใจทางการเมืองใด ๆ นักวิชาการบางคนเปรียบเทียบเหตุการณ์ 10 เมษาฯ – 19 พฤษภาฯ ว่าคล้ายกับการที่ชุนดูฮวาน (อดีตผู้นำเผด็จการเกาหลีใต้-ผู้แปล) ปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของชาวกวางจู ที่เลวร้ายที่สุดคือการที่ผู้สนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิจำนวนมากเชื่อว่าสมควรแล้วที่ผู้ชุมนุม นปช. จะถูกปราบปรามด้วยความรุนแรง
หลังการปราบปราม รัฐบาลอภิสิทธิยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (ด้วยการสนับสนุนจากสมาชิก นปช.) ได้รับเลือกและกลายเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่นายสุเทพ กลายเป็นฝ่ายค้าน รัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามที่จะหาหนทางสร้างความปรองดองโดยร่าง พรบ.นิรโทษกรรม รัฐบาลของเธอล้มเหลวในการผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่เต็มไปด้วยข้อถกเถียงและก่อให้เกิดความโกรธแค้นจากหลายฝ่าย รวมถึง กปปส. แล้วประชาธิปไตยของประเทศไทยก็หยุดชะงักนับแต่นั้นมา
ระหว่างการชุมนุมประท้วงปิดเมืองกรุงเทพฯ ของ กปปส. สุธีและเพื่อนศิลปินได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนให้ขบวนการเคลื่อนไหว กปปส. แทนที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยและการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน ผลงานของเขาที่นำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูเป็นผลงานที่ทำขึ้นระหว่างร่วมชุมนุมกับ กปปส. อันนำพาความถดถอยของประชาธิปไตยไทย อาทิ โปสเตอร์ที่ใช้เทคนิคฉลุลาย เสื้อยืดสำหรับผู้สนับสนุน กปปส. และ อื่น ๆ ศิลปิน กปปส. ยึดถนนเพื่อปิดกั้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งก่อชนวนเปิดโอกาสให้ทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน และเปลี่ยนจากประเทศที่มีอนาคตที่สดใสทางประชาธิปไตย กลับกลายเป็นการควบคุมโดยสมบูรณ์จากชนชั้นสูงและปกครองโดยทหารตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557
แม้ว่ารัฐบาลเผด็จการของไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทย (หรือ UPR) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2559 อย่างไรก็ตามในวันเดียวกันนี้ ศิลปิน กปปส. ก็ได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนสำหรับการสร้างวิทยาลัยของพวก กปปส.ด้วยเช่นกัน นิทรรศการของสุธีไม่เพียงแต่เป็นการดูหมิ่นขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของไทยและ ประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตย แต่หมายรวมถึงจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ของชาวกวางจูเมื่อ 18 พฤษภาคม
พวกเราใคร่ขอถาม Jong Young Lim ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และคณะกรรมการของถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ พวกเราเชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู ด้วยความเคารพต่อหลักการดังกล่าวพวกเราใคร่ขอคำอธิบายหลักและเหตุผลในการคัดสรรศิลปินและผลงาน เพื่อความกระจ่างชัดต่อชาวไทยและชาวกวางจู
ด้วยความสมานฉันท์
นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.)
ดังรายชื่อแนบท้าย
2. Akara Pacchakkhaphati Film Maker
ค้านเกาหลีปลดงานศิลป์-สุธียันไม่หนุนรัฐประหาร-ที่เงียบไปเพราะบ้านเมืองขัดแย้ง
กรณี 118 รายชื่อยื่น จม. หอศิลป์เกาหลีใต้นำผลงานศิลปินยุค กปปส. ปิดกรุงเทพฯ จัดแสดงรำลึก 36 ปีเหตุสลายการชุมนุมที่กวางจู ล่าสุดเจ้าของผลงาน สุธี คุณาวิชยานนท์ ชี้แจง 'มติชน'ทราบเรื่องจดหมายแล้ว แต่ยังไม่ได้อ่านเพราะติดสอนทั้งวัน และชี้แจงหอศิลป์เกาหลีใต้แล้วว่าไม่ได้สนับสนุนรัฐประหาร แต่ต้านนิรโทษกรรม-คอรัปชั่น
รับระดมทุนให้ กปปส. จริง แต่ไม่ใช่ กปปส. แค่มีแนวคิดบางอย่างร่วมกัน ที่ผ่านมาเงียบไป เพราะไม่สนับสนุนรัฐประหาร ยอมรับว่าไม่เป็นไปอย่างที่ตั้งใจ ขอยืนยันว่าอยากให้ปฏิรูป บ้านเมืองขัดแย้งมาเยอะ เลยไม่อยากไปเพิ่มความขัดแย้ง อยากให้ประเทศสงบ มีทางออก แต่ถ้าคณะรัฐประหารทรยศประชาชนก็อีกเรื่องหนึ่ง ควรต้องเคลื่อนไหวต่อไป
สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด 'Thai Uprising'ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)
งานแสดงของสุธีช่วงชัตดาวน์กรุงเทพฯ 13 ม.ค. 2557 (ที่มา: Rama9Art)
โดยในคำชี้แจงวันนี้ (17 พ.ค.) ของสุธี คุณาวิชยานนท์ รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวกับ มติชนออนไลน์ว่า ทราบข่าวเรื่องจดหมายเปิดผนึกแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสอ่าน เพราะติดงานสอนตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม เขาได้รับอีเมลล์จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูในช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งได้ชี้แจงกลับไปเรียบร้อยแล้ว โดยขอยืนยันว่า ไม่เคยสนับสนุนรัฐประหาร การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมา เป็นการต่อต้านพรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย และการคอรัปชั่นของนักการเมือง ซึ่งผลงานที่นำไปจัดแสดง เป็นบันทึกเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น โดยเป็นงานเก่าตั้งแต่ปลายปี 2556 ถึงต้นปี 2557 ที่นำมาทำใหม่ ซึ่งหากทางพิพิธภัณฑ์จะปลดผลงานส่วนหนึ่ง เขาจะขอคัดค้าน เพราะไม่มีเหตุผลจะถูกปลด
“ผมและเพื่อนๆกลุ่ม Art Lane ซึ่งมีทั้งศิลปิน นักร้อง นักแสดง เรียกร้องการปฏิรูป ไม่ใช่รัฐประหาร ทำไปด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มีใครหนุนหลัง ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือพรรคการเมือง เราทำของเราเอง กรณีที่มีการทำเสื้อยืดและของที่ระลึกขาย ก็มอบรายได้ให้กลุ่มไปแล้วเขาไปจัดการกันเอง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมีการใช้สนับสนุนกิจกรรมการเคลื่อนไหว และมอบให้กปปส. จริง แต่ผมไม่ใช่สมาชิกกลุ่มกปปส.แค่มีแนวคิดบางอย่างร่วมกัน เช่น ต้านรัฐบาลที่ทุจริต ค้านนิรโทษกรรมสุดซอย
งานในนิทรรศการก็เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ในบริบทนั้นๆว่าเป็นอย่างไร เป็นงานที่ทำตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ไม่ถามหรือว่าหลังรัฐประหารทำไมผมเงียบ ก็เพราะไม่สนับสนุน ยอมรับว่าผิดหวัง ไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้งใจ ยังยืนยันว่าอยากให้ปฏิรูป แต่พอเกิดรัฐประหาร ก็รอดูไปก่อนว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป บ้านเมืองขัดแย้งมาเยอะ เลยไม่อยากไปเพิ่มความขัดแย้ง อยากให้ประเทศสงบ มีทางออก แต่ถ้าคณะรัฐประหารทรยศประชาชนก็อีกเรื่องหนึ่ง ควรต้องเคลื่อนไหวต่อไป” สุธีกล่าว และว่าหลังทราบข่าวการส่งจดหมายเปิดผนึก ยอมรับว่าไม่สบายใจ เพราะตนไม่ใช่นักการเมือง หรือนักเคลื่อนไหวมืออาชีพ แต่มีศิลปินและเพื่อนอาจารย์คอยให้กำลังใจ
ผลงานแสดงที่กวางจู ของสุธี คุณาวิชยานนท์ และการทักท้วง
สำหรับผลงานแสดงของสุธี ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ส่วนแรก คือ "กระดานดำกวางจู"โดยนำมาจากผลงานชุด "ห้องเรียนประวัติศาสตร์ภาค 2"ที่สุธีเคยจัดแสดงผลงานดังกล่าวมาก่อน เมื่อ พ.ศ. 2556 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นภาพแกะสลักบนโต๊ะนักเรียนที่ทำจากไม้ 23 ตัว แสดงเหตุการณ์ 23 แห่ง โดยในการแสดงที่กวางจู สุธีได้เลือกโต๊ะไปทำการแสดง 6 ตัว นอกจากนี้เขายังร่วมกับศิลปินเกาหลีใต้ วาดภาพบนกระดานดำร่วมกันโดยด้านหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และอีกด้านการเหตุการณ์กวางจูเดือนพฤษภาคม 2523
"ผลงาน "กระดานดำกวางจู"ผมต้อง "เลือกจำ"คัดตัดตอนมาเฉพาะประวัติศาสตร์ 1 หน้าในความทรงจำทางการเมืองไทย 14 ตุลา 16 เบลอปะปนไปกับ 18 พฤษภาคม 1980 โศกนาฏกรรมทางการเมืองของเกาหลีใต้ที่เมืองกวางจู ที่มีทั้งความคล้ายและความต่างสองเรื่องสองเหตุการณ์ถูกเขียนแล้วลบแล้วเขียนอีก จนมันเบลอ เข้าหากันในกระดานแห่งความทรงจำเดียวกัน อีกชิ้นโต๊ะนักเรียนในห้องเรียนประวัติศาสตร์ ก็จำเป็นต้องถูก "เลือกจำ"เช่นกัน จากโต๊ะ 23 ตัว เกือบ 20 เหตุการณ์ คัดเหลือแค่ 6 ตัว ประมาณ 6 เหตุการณ์"สุธีระบุตอนหนึ่งในสเตตัสเฟซบุ๊คที่เขาพูดถึงผลงานแสดงศิลปะ
สำหรับผลงานศิลปะส่วนที่ถูกทักท้วง คือ "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน" (อ่านรายละเอียด) ซึ่งเป็นผลงานศิลปะของสุธีระหว่างการชุมนุมต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการชุมนุม กปปส. ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง ปลายเดือนมกราคม 2557 โดยมีข้อความที่ปรากฏในโปสเตอร์เช่น "ปฏิรูปก่อน""ไทยอย่าเฉย""ยึดคืนประเทศไทย""อย่ากลับด้านประเทศไทย"โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีถูกนำมาประมูลเพื่อระดมทุนสำหรับการต่อสู้ในช่วงนั้นด้วย
ทั้งนี้ หลังวันเปิดแสดงผลงานศิลปะเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา บุคคลในวงการต่างๆ ในประเทศไทย ได้ส่งจดหมายทักท้วงไปยัง ลิม จงยอง ผู้ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ 'The Truth_to Turn It Over'อาทิ ธนาวิ โชติประดิษฐ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากรเขียนจดหมายเปิดผนึกไปยัง ลิม จงยอง เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขา
"เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรศการ 2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น" จดหมายของธนาวิตอนหนึ่งระบุ
ขณะเดียวกันในวันนี้ (16 พ.ค.) มีการเผยแพร่ จดหมายเปิดผนึกจาก "นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย" (กวป.) ถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู กรณีนำผลงานของ รศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ ไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’"โดยมีการลงชื่อท้ายจดหมายโดยบุคคล 118 ราย ประกอบด้วยศิลปิน ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียน สื่อมวลชน นักวิชาการ ฯลฯ ในไทย สอบถามไปยังพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู
"พวกเราใคร่ขอถาม Jong Young Lim ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และคณะกรรมการของถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ พวกเราเชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู ด้วยความเคารพต่อหลักการดังกล่าวพวกเราใคร่ขอคำอธิบายหลักและเหตุผลในการคัดสรรศิลปินและผลงาน เพื่อความกระจ่างชัดต่อชาวไทยและชาวกวางจู"ตอนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
อนึ่ง เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ในเว็บ penseur21.com (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) Lee Yu Kyung ผู้สื่อข่าวชาวเกาหลีใต้ ได้โทรศัพท์สัมภาษณ์ ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าว โดยเขาย้ำว่าเขารู้สึกชื่นชมผลงานแนวสตรีทอาร์ทของสุธี ซึ่งมีเนื้อหาใกล้กับศิลปะแนวประชาชนของเกาหลีใต้ในยุคทศวรรษที่ 1980 โดยเขาพิจารณาเรื่องนี้โดยไม่ได้คำนึงในเรื่องนัยยะทางการเมือง
"ผมไม่ได้คาดหมายว่าจะมีปฏิกิริยาตอบกลับมาจากประเทศไทยขนาดนี้ เราได้รับคำท้วงติงมาจากบุคคลหลากหลาย ซึ่งส่วนหนึ่งถูกส่งมาจากมูลนิธิ 518 (มูลนิธิในเกาหลีใต้ซึ่งตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ต่อสู้ที่กวางจู) พวกเราจะมีการหารือกันถึงเรื่องนี้ พวกเราอาจพิจารณาที่จะถอนงาน 1 ใน 4 เรื่องของสุธี ซึ่งเรื่องหนึ่งเกี่ยวข้องกับการประท้วงของ กปปส. แต่เราต้องได้รับความยินยอมจากศิลปิน เราจะไม่ทำโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นความผิดพลาดของพวกเราร่วมกัน" ลิม จงยอง กล่าวเพิ่มเติม
36 ปีเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยกวางจู ก่อนนำตัวผู้บงการขึ้นศาลในปี 2539
สำหรับขบวนการประชาธิปไตยกวางจู หรือเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมต่อต้าน นายพลชุน ดูฮวาน ที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลชอย คูฮาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 โดยท้ายที่สุดทหารเกาหลีใต้สามารถยึดเมืองกวางจูคืนจากผู้ประท้วงได้ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 มีผู้เสียชีวิต 165 ราย สูญหาย 76 ราย บาดเจ็บสามพันห้าร้อยราย ขณะที่ทหารและตำรวจเสียชีวิต 13 ราย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ศาลอาญาประจำโซล มีคำตัดสินประหารชีวิตนายพลชุน ดูฮวาน จำเลยที่หนึ่ง และจำคุกนายพลโน แทอู จำเลยที่สอง 22 ปี 6 เดือน และจำคุกนายพลอื่นๆ อีก 13 คน
สุธีชี้แจงภัณฑารักษ์ว่าไม่สนับสนุนรัฐบาลทหาร แต่ต่อสู้กับความฉ้อฉลในสภา
ศิลปินผู้นำผลงานสมัยชุมนุม กปปส. ไปแสดงที่หอศิลป์เมืองกวางจู ชี้แจงต่อภัณฑารักษ์ว่า เขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น ยกผลงานตนเทียบเท่าผู้คนร่วมลุกฮือที่กวางจูปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกฝักใฝ่ยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน
สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด 'Thai Uprising'ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)
18 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ นำผลงานศิลปะไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีเป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยการทำจดหมายทักท้วงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน โดยจดหมายของสุธีถึงภัณฑารักษ์ ฉบับแปลภาษาไทยอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
000
จดหมายถึงภัณฑารักษ์
เรียน ลิม จง ยอง (Jong-young Lim)
ผมขอขอบคุณในความกรุณาที่สนับสนุนผลงานของผม และผมอยากที่จะพูดว่าผมรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในนิทรรศการ The Truth_To Turn It Over อันมีเกียรตินี้ ณ Gwangju Museum of Art
ผมอยากจะขอบคุณในความใจกว้างของคุณที่เปิดโอกาสให้ผมได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่มีต่อตัวผม กล่าวโดยสรุป ผมถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนรัฐบาลทหารในปัจจุบัน และที่เลวร้ายไปกว่านั้น คือการสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองอันนำมาซึ่งการรัฐประหารโดยทหาร
ผมขอปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งสอง และต้องการที่จะเน้นย้ำว่ากิจกรรมทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของผม ไม่ได้ทำไปเพื่อเชิดชูทหาร หากแต่มันเป็นการตอบโต้กับความฉ้อฉลของเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผมและคนไทยอีกหลายล้านคนได้ใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน เพื่อต่อต้านการใช้อำนาจอันบิดเบือนอย่างน่ารังเกียจโดยรัฐบาลของเธอ
ในระหว่างการประท้วง รัฐบาลของเธอหน้ามืดตามัวใช้ความรุนแรงเพื่อตอบโต้กลุ่มผู้ประท้วงด้วยม็อบประชาชนที่จัดตั้งโดยรัฐบาลเอง มีบันทึกว่าผู้คนเสียชีวิตไปกว่า 20 ราย ความดื้อรั้นและขาดซึ่งสำนึกความรับผิดชอบต่อประชาธิปไตยของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำมาซึ่งทางตันและสูญญากาศทางการเมือง ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการรัฐประหาร
การใช้อำนาจอันบิดเบือน นำไปสู่การประท้วงโดยมวลชนในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556 รวมไปถึงความพยายามในการใช้ เสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาผลักดันให้เกิดการใช้กฏหมายนิรโทษกรรมในกรณีความผิดเรื่องคอร์รัปชันของทักษิณ ชินวัตร (พี่ชายของยิ่งลักษณ์ ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) นอกจากนี้ ศาลอาญาได้ตัดสินลงโทษทักษิณด้วยการสั่งจำคุก 2 ปี และยังมีอีกหลายข้อกล่าวหาที่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ทักษิณไม่เคยสำนึกตนว่ากระทำผิดและอยู่ในระหว่างการหลบหนีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ยิ่งไปกว่านั้น ยุคสมัยของยิ่งลักษณ์ มีการคอร์รัปชันเกิดขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ มีการประเมินอย่างเป็นทางการว่า การคอร์รัปชันนี้สร้างความสูญเสียมูลค่ากว่าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากโครงการจำนำข้าวเพียงโครงการเดียว ทั้งตัวยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในระดับต่างๆ กำลังถูกฟ้องในอาชญากรรมนี้ในศาลพลเรือน
การกระทำเช่นนี้ชัดเจนว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ก่อให้เกิดความรู้สึกในวงกว้างว่า ผู้คนนับล้านถูกทรยศ รวมถึงตัวผมเองด้วย ผมมีความภาคภูมิใจในการทำหน้าที่ทางประชาธิปไตยในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ในการประท้วงตอบโต้กับการทรยศต่อเสียงโหวตที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้รับจากประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น ผมมีความเชื่ออย่างจริงใจว่า กิจกรรมและความเชื่อของผมมีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือขึ้นก่อจลาจลในเมืองกวางจู เมื่อปี 1980
ในความเป็นจริงแล้ว เผด็จการนั้นมาในหลายรูปแบบ ทั้งทหารและพลเรือน รัฐบาลทหารในปัจจุบันก็จะเผชิญหน้ากับการตอบโต้แบบเดียวกันจากตัวผมและคนอื่นๆ ถ้าทหารเหล่านั้นไม่ให้ความสนใจประชาชนเป็นอันดับแรก หรือถ้าหากทหารไม่คืนประชาธิปไตยให้กับประเทศนี้อย่างที่พวกเขาได้สัญญาเอาไว้
ผมควรที่จะเน้นไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า การเคลื่อนไหวเพื่อที่จะใส่ร้ายป้ายสีชื่อเสียงของผมได้รับการสนับสนุนจากพวกที่ฝักใฝ่ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มันคือเกมทางการเมือง ซึ่งผมไม่ปรารถนาที่จะไปยุ่งเกี่ยวด้วย และผมหวังอย่างจริงใจว่า คุณจะไม่ตกเป็นเหยื่อในลูกไม้ของคนพวกนี้
ผมหวังว่าผมจะมีโอกาสเข้าร่วมในนิทรรศการของคุณ และเชื่อว่าคุณจะมีความยับยั้งชั่งใจต่อข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมต่อตัวผม ซึ่งชัดเจนว่าถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการสร้างสถานการณ์ในรัฐทหารในปัจจุบัน
ด้วยความเคารพ
สุธี คุณาวิชยานนท์
วสันต์-มานิตย์หนุนงานศิลปะสุธี-เหมาะสมสะท้อนภาพต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นอย่างดี
มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ทำหนังสือถึงภัณฑารักษ์ที่กวางจู เพื่อสนับสนุนการแสดงงาน 'สุธี คุณาวิชยานนท์'ว่าเหมาะสม-สะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทย พร้อมเรียกร้องภัณฑารักษ์ให้มีสติและอดทนต่อการ "ใส่ร้ายป้ายสี""ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียง"ของสุธี "ผู้ต่อต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด"
ผลงานของสุธี คุณาวิชยานนท์ ชุด "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ที่นำผลงานไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูด้วย (ที่มา: Rama9Art)
18 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ นำผลงานศิลปะไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีที่นำไปแสดงคือ 'Thai Uprising'เป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยการทำจดหมายทักท้วงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
ล่าสุดวันนี้ (18 พ.ค.) มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ซึ่งเคยแสดงผลงานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ได้ทำจดหมายเปิดผนึก [ฉบับภาษาอังกฤษ] [ฉบับแปลภาษาไทย] ถึง ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ผู้ดูแลนิทรรศการศิลปะ ‘The Truth – to Turn It Over’ เพื่อสนับสนุนการแสดงผลงานของสุธี คุณาวิชยานนท์
อนึ่งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึง ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
สำหรับจดหมายเปิดผนึกของมานิตย์ ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ มีรายละเอียดดังนี้
000
เรียน Mr. Lim Jong-young,
ตามที่ปรากฏข่าวบนโซเชียลมีเดีย และหนังสือพิมพ์ไทยบางฉบับว่า ท่านได้รับจดหมายจากคนไทยกลุ่มหนึ่ง ประท้วงการจัดแสดงผลงานศิลปะ ‘The Truth – to Turn It Over’ ของ อาจารย์สุธี คุณาวิชยานนท์ โดยกล่าวหาว่า “ต่อต้านประชาธิปไตย” (Anti democracy) เพราะผลงานและตัวศิลปินผู้มีส่วนร่วมในการประท้วงใหญ่ “ปิดกรุงเทพ” จนนำไปสู่การรัฐประหาร ซึ่งขณะนี้ท่านกำลังพิจารณาเรื่องนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรนั้น
ข้าพเจ้า, ศิลปินไทยผู้รักประชาธิปไตยเช่นกัน ขอส่งสาส์นฉบับนี้มาสนับสนุนการคัดเลือกและแสดงผลงานชุดนี้ที่ท่านเป็นผู้คัดเลือกว่า เหมาะสมและสะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทยได้เป็นอย่างดี
การกล่าวหาผลงานชุดนี้ว่า “ต่อต้านประชาธิปไตย” เพียงเพราะศิลปินเป็นพันธมิตรเข้าร่วมประท้วงกับกลุ่ม กปปส. จนเป็นเหตุอันนำไปสู่การรัฐประหารนั้น นับเป็นข้อกล่าวหาอันตื้นเขิน ไร้เหตุผล ไม่อาจยอมรับได้
การประท้วงของสุธีและประชาชนผู้มีใจบริสุทธิ์ และรักความถูกต้อง จำนวนนับล้านทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เป็นการต่อสู้ขับไล่รัฐบาลเผด็จการรัฐสภา ที่พยายามผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมอัปยศ เพื่อช่วยเหลือ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยให้พ้นความผิดที่ถูกตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปี ในข้อหาคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นพี่ชาย นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น ตลอดจนถึงขบวนการปล้นภาษีประชาชนโดยรัฐบาลของเธอเองในโครงการประชานิยม “รับจำนำข้าว” ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยหลายแสนล้านบาท (เรื่องเช่นนี้ชาวเกาหลีเคยต่อสู้มาแล้ว)
การต่อสู้ดังกล่าวไม่อาจเรียกเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจาก “การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” และนั่นคือสิ่งที่สุธีและพวกเราทุกคนที่นี่กำลังทำอยู่ (เรื่องนี้จึงอยากขอให้ท่านศึกษาประวัติการทำงานศิลปะของสุธีให้ดี จะพบว่าเขาไม่เคยเรียกร้องหรือสนับสนุนเผด็จการในทุกรูปแบบ)
การเกิดรัฐประหารนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มี “นักต่อสู้ประชาธิปไตย” คนใดต้องการให้เกิด และหากไม่มีเหตุผลปัจจัยเพียงพอ เช่น ความรุนแรง รัฐประหารก็ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ ทำไมกลุ่มผู้คัดค้านผลงานของสุธีจึงป้ายความผิดให้แก่ผู้ชุมนุมประท้วงเพียงฝ่ายเดียว ทำไมพวกเขาเหล่านั้นจึงไม่ไปกล่าวหาฝ่ายรัฐบาลเผด็จการสภาอันเป็นต้นเหตุ
ผลงานของสุธีไม่มีความผิด และไม่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารแต่อย่างใด (โปรดอ่านถ้อยคำบนเนื้องานของสุธีประกอบ) ผลงานเหล่านี้เกิดขึ้นในบริบทของการประท้วงรัฐบาล ณ ขณะนั้น
ข้าพเจ้าจึงขอเรียกร้องให้ท่านมีสติและมีความอดทนต่อกระบวนการ “ใส่ร้ายป้ายสี” ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียงของ สุธี คุณาวิชยานนท์ ศิลปินผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด และต้องขออภัยที่ท่านและองค์กรของท่านต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอันสลับซับซ้อน สงครามสร้างภาพลักษณ์ การแย่งชิงมวลชน, อำนาจ และผลประโยชน์ของไทย
ด้วยความนับถือและจริงใจ
มานิต ศรีวานิชภูมิ (แสดงกวางจู เบียนนาเล่ 2006)
วสันต์ สิทธิเขตต์ (แสดงกวางจู เบียนนาเล่ 2004)